วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทที่8 การพึ่งพาอาศัยกันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์


 โลกยุคโลกาภิวัตน์ 

          คำว่า โลกาภิวัตน์หมายถึง การแพร่กระจายไปทั่วโลก (ของข่าวสาร) การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดสามารถรับรู้ สัมผัส หรือ รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง สืบเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ ดังนั้นยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Age) ที่ไร้พรมแดน อันเป็นยุคที่มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารและคมนาคม ทำให้ประเทศต่าง ๆ ได้เข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น กระแสโลกทั้งในรูปของทุนและข้อมูล รวมทั้งค่านิยมบางประการ เช่น สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ได้ขยายตัวครอบคลุมไปทั่วโลก 

           ลักษณะสำคัญของโลกาภิวัตน์ จึงเป็นความหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายกิจกรรม
การดำเนินงาน ซึ่งแต่เดิมอาจจะผูกขาดอยู่ ณ ศูนย์หรือแหล่งไม่กี่แห่งในโลก ออกไปยังท้องถิ่นหรือศูนย์ใหม่ๆ หลากหลายมากขึ้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า สังคมยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นโลกที่มนุษย์สามารถข้ามพรมแดนของประเทศและสามารถทะลุกาลเวลาได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสารในลักษณะที่ไร้พรมแดน โลกในสายตาของผู้ที่อาศัยเทคโนโลยี จึงเป็นโลกใบเล็กที่สามารถติดต่อถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว 
         
           ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองโลก มีผลทำให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และมีความเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้น โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับเล็กลง ดินแดนแต่ละประเทศที่อยู่ห่างไกลกันสามารถติดต่อกันได้ภายในเวลาเสี้ยววินาทีประดุจเป็นหมู่บ้าน (Global Village) ภูเขาและทะเล ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติ ที่เคยเป็นอุปสรรคในการติดต่อไปมาหาสู่ ดูเสมือนเลือนหายไปจนกลายเป็นโลกไร้พรมแดน 

          ลักษณะสำคัญของสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน
          คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร

          สังคมโลกาภิวัตน์คอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญมาก เพราะเป็นเครื่องมือที่จะรับและแปลงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและไม่ค่อยมีข้อจำกัด คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการจัดเก็บ บันทึกข้อมูล จัดระบบข้อมูล และนำมาใช้สื่อสารถึงกันในเวลาอันรวดเร็วทุกมุมโลก ในระยะไม่กี่ปีมานี้ ได้มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ไปอย่างมาก จากเครื่องที่มีขนาดใหญ่ราคาแพง เป็นระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็ก มีคุณภาพ ราคาถูก และศักยภาพสูง เครื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการแพร่ข้อมูลข่าวสารในยุคโลกาภิวัตน์
          

          เกิดการเพิ่มขึ้นของแรงงานด้านข่าวสาร จำนวนแรงงานที่ทำงานเกี่ยวกับข่าวสาร ข้อมูลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แรงงานเหล่านี้ได้แก่ผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษา การคมนาคม การพิมพ์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ สื่อสารมวลชน ทุกประเภท การเงิน การบัญชี รวมทั้งอุตสาหกรรมผลิตคอมพิวเตอร์หรือชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และงานที่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาจัดการกับ ข่าวสารทุกชนิด

          เกิดการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมเจริญก้าวหน้า เศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้าทำให้โลกตะวันตกมั่งคั่งร่ำรวย ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดเป็นแรงกระตุ้นให้มีการวิจัยและพัฒนา เพื่อศึกษาค้นคว้าหาข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างไม่หยุดยั้ง สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ก็ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีสื่อสารอันทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้เกิดการเปลี่ยนถ่ายข้อมูลใหม่ ๆ หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

          ระบบเศรษฐกิจประสานเป็นหนึ่งเดียว ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ระบบเศรษฐกิจจะมีการประสานเป็นหนึ่งเดียว ทำให้พรมแดนแต่ละประเทศไม่อาจขวางกั้นพลังทางเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ ระบบเศรษฐกิจยังได้เปลี่ยนรากฐานจากระบบอุตสาหกรรมมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบฐานข่าวสาร (Information based economy) ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการผลิต การจัดการ และเผยแพร่ข่าวสาร ข่าวสารกลายเป็นสินค้าประเภทหนึ่ง ตัวอย่างธุรกิจชนิดนี้ เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรคมนาคม วิทยุ โทรทัศน์ การพิมพ์ โทรศัพท์ หนังสือ วารสาร เป็นต้น ข่าวสารกลายเป็นเรื่องสำคัญและเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ผู้ต้องการใช้ข่าวสารต้องเสียค่าใช้จ่าย ข่าวสารกลายเป็นแหล่งทุน และเป็นบ่อเกิดของการว่าจ้างแรงงาน

          ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อสังคมโลก

          ผลกระทบด้านสังคม
          การครอบโลกทางวัฒนธรรม เนื่องจากระบบสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้เกิดการครอบโลกทางวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรมและอำนาจของเศรษฐกิจจากประเทศที่พัฒนาแล้วได้ไหลบ่าเข้าสู่ประเทศอื่นอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดกระแสวัฒนธรรมโลก (Neo - Westernization) ครอบงำทาง ความคิด การมองโลก การแต่งกาย การบริโภคนิยม แพร่หลายเข้าครอบคลุมเหนือวัฒนธรรมประจำชาติของแต่ละประเทศ ผลที่ตามมา คือ เกิดระบบผูกขาดแบบไร้พรมแดน

          หมู่บ้านโลก (Global Village) จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ทำ ให้สังคมโลกไร้พรมแดน โลกทั้งโลกเป็นเสมือนหมู่บ้าน เดียวกัน สมาชิกของหมู่บ้านคนใดทำอะไร ก็สามารถรับรู้ได้ ทั่วกันทั่วโลก เมื่อมาอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน สิ่งใดที่มากระทบประเทศหนึ่งก็ย่อมกระทบถึงประเทศอื่น ๆ ไปด้วยอย่างมิอาจ หลีกเลี่ยงได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกสามารถรับรู้ได้อย่างฉับพลัน
จากผลกระทบด้านสังคมที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่า มีปรากฏการณ์ที่เราเรียกว่า POP CULTURE เกิดขึ้น ปรากฏการณ์นี้ คือรูปแบบวัฒนธรรมที่มีการประพฤติ ปฏิบัติในวงกว้าง เช่นการบริโภค อาหารแบบ FAST FOOD ตามวิถีแบบอเมริกันชนความเป็นอยู่ การศึกษา ต่างๆ ที่เป็นแบบแผน เดียวกัน ในการดำเนินชีวิต 

          ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
          ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ซึ่งมีข้อมูลข่าวสารเข้ามามีบทบาทสำคัญ ซึ่งจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตสินค้า จากการผลิตที่เหมือนกันในปริมาณที่เป็นจำนวนมาก มาเป็นการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมในการผลิต โดยมีลักษณะการใช้งานเฉพาะ ซึ่งใช้ระยะเวลาการผลิตสั้นกว่า สิ้นเปลืองน้อยกว่า จะเข้ามาแทนที่ เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนอาจได้รับการผลิตในประเทศต่าง ๆ 4 ประเทศ ที่มีความสามารถเฉพาะด้าน แล้วนำมาประกอบในประเทศที่ 5 แล้วส่งขายไปทั่วโลก ซึ่งเป็นลักษณะของการเกิดบริษัทข้ามชาติทุนข้ามชาติ ที่เข้าไปเสาะแสวงหาผลกำไร อย่างไร้พรมแดนในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก แล้วกำไรเหล่านั้น ถูกส่งไปพัฒนา หรือถูกส่งไปยังบริษัทใหญ่ในประเทศแม่ เป็นแบบฉบับธุรกิจโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีผลทำให้ธุรกิจ การเงิน หลักทรัพย์ ธนาคาร ประกันภัย ต้องปรับตัวเพื่อรองรับธุรกิจแบบโลกาภิวัตน์ด้วย การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนระบบการผลิตมาเป็นการผลิตอย่าง ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ระบบการเงินก็จะต้องปรับมาบริการแบบ 24 ชั่วโมงด้วย กระแสเงินตราต่าง ๆ ได้ผ่านเข้าออกธนาคารตลอดเวลาในช่วงเวลาที่วัดกันเป็นเสี้ยววินาที โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอัตราเร็วนี้คือความสามารถที่จะก้าวล้ำหน้า ทำให้มีผลต่อการกระจายอำนาจและผลกำไรอย่างมากมาย นอกจากนั้น กระแสการแข่งขันด้านการค้าและการแสวงหาตลาดได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นสภาพข้ามชาติอย่างแท้จริง การค้าและช่องทางการเข้าสู่ตลาดโลกมิอาจดำเนินไปในรูปแบบที่เรียกว่า ลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ที่เคยเป็นลักษณะหนึ่งของการแข่งขัน เพื่อผูกขาดอำนาจและผลประโยชน์ในอดีต การดำเนินกิจกรรมทางการค้าได้พัฒนาซับซ้อนและมีกลไกมีวิธีการหลากหลายมากขึ้น ในยุคนี้จะได้เห็น การทูตแผนใหม่” (New Diplomacy) ที่มุ่งไปที่พันธมิตรทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม แทนการใช้ระบบการเมืองดังที่เคยปรากฏในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา

          ผลกระทบด้านการเมือง
          เกิดความรู้สึกท้องถิ่นนิยม (Localism) กระแสโลกาภิวัตน์สร้างความรู้สึกท้องถิ่นนิยมแทนที่อุดมการณ์ชาตินิยม เนื่องจากสังคมยุคโลกาภิวัตน์เป็นยุคแห่งข่าวสาร ซึ่งประชาชนใน ท้องถิ่นสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนของตนได้อย่างรวดเร็วจากสื่อมวลชน ทำให้เกิดการปลุกจิตสำนึกของประชาชนในท้องถิ่น ให้รู้จักเห็นคุณค่าอนุรักษ์ รักษา และหวงแหนทรัพยากรภายในท้องถิ่นของตน พร้อมทั้งตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาลกลาง หากรัฐบาลกลางหวังจะตักตวงผลประโยชน์จากท้องถิ่นโดยไม่โปร่งใส ก็จะถูกต่อต้านจาก ประชาชนในท้องถิ่น ดังที่เราได้พบเห็นที่กลุ่ม ประชาชน ออกมาเรียกร้อง สิทธิ ความเสมอภาคต่างๆ
 

บทที่7 แนวทางการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


 การนำทรัพยากรในธรรมชาติมาประกอบอาชีพ
    แนวคิดในการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นผลสืบมาจากการเกิดสภาวะความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ที่นับวันจะทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อคนเราเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่องค์การสหประชาชาติได้
   ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน 
     - การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นคำที่มีรากฐานมาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการใช้หรือจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด รู้จักถนอมในการใช้ เพื่อให้มีไว้ใช้ เพื่อใช้มีอย่างยาวนานจนถึงคนรุ่นหลัง
     - การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  หมายถึง การนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เพื่อให้มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมนั้นด้วยประสิทธิภาพลง หรือกระทบกระเทือนต่อคนรุ่นหลัง 
 แนวทางในการปฏิบัติที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
    - ประชาชนและภาครัฐต้องช่วยกันควบคุมปล่อยของเสียที่สร้างขึ้นให้ออกสู่ธรรมชาติน้อยลง
    - ประชาชนและภาครัฐต้องรู้จักวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
    - ประชาชนทุกคนต้องเกิดจิตสำนึกร่วมกัน  โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากร
ธรรมชาติให้เหมาะสม
    - ภาครัฐควรวางมาตรการการประจายรายได้ออกไปสู่ภาคประชาชนในทุกกลุ่มทุกอาชีพ 
เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
    - ภาครัฐควรวางมาตรการในการควบคุมอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากร 
                   นโยบายและวิธีการจัดการด้านทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาลไทย
รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา มีนโยบายให้จัดการสำรวจที่ดินว่างเปล่าที่ยังไม่มีเจ้าของ  มาจัดวางระเบียบการจับจองที่ดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูก  และจัดวางแผนส่งเสริมชลประทาน
รัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์  ปราโมช มีนโยบายเร่งดำเนินโครงการชลประทานขนาดเล็กส่งเสริมการประมงและปศุสัตว์จนสามารถเป็นสินค้าออก  และป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของส่วนรวมรัฐจะอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้ให้คงสภาพและเกิดความสมบูรณ์เป็นแหล่งของต้นน้ำลำธาร รัฐบาลพลเอกสุจินดา  คราประยูร มีนโยบายในการที่จะอนุรักษ์คุ้มครองและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งดิน  ป่าไม้  และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆและให้ประชาชนในพื้นที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรฯให้มากยิ่งขึ้นนอกจากนี้จะกวดขันให้เจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลทรัพยากรฯอย่างเข้มงวดโดยใช้ภาพจากดาวเทียมในการควบคุม รัฐบาลนายชวน  หลีกภัย มีนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์เพื่อกระจายสิทธิ์การถือครองที่ดินให้แด่เกษตรกรผู้ยากไร้ เพื่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่า รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร มีนโยบายในการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพการป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไปและการนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ  เกิดความสมดุลในการพัฒนา
   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับรูปแบบและแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน 
     - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) เป็นแผนพัฒนาฯที่เน้นพัฒนาประเทศให้ก้าวควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่สะสมมาจากแผนพัฒนาฯฉบับที่ผ่านมาเน้นการใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างมีคุณภาพ  และเน้นเศรษฐกิจ  การเมืองสังคม ให้มีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539)  เป็นแผนพัฒนาฯที่มุ่งให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาในเชิงปริมาณคุณภาพและความเป็นธรรมในสังคมเน้นการกระจายรายได้และความรู้ไปสู่ภูมิภาค  เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  คุณภาพชีวิตและการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544)  เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน
และแท้จริง  โดยกำหนดการพัฒนาคนเป็นวัตถุประสงค์หลัก  และในส่วนของการจัดการทรัพยากรฯและสิ่งแวดล้อม  มีการวางแผนจัดการเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีความสมบูรณ์และเกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศวิทยาและให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนอย่างแท้จริง
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)  เป็นแผนพัฒนาที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ  เพื่อให้ประเทศรอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลมีคุณภาพ

บทที่6แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมโลก


ความขัดแย้งทางสังคมวัฒนธรรม ภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ
การขัดแย้งทางวัฒนธรรม (Cultural Conflict)
การแพร่กระจายวัฒนธรรมและการสังสรรค์ทางวัฒนธรรมอาจสร้างความขัดแย้ง ถ้าสมาชิกในกลุ่มไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน โดยปกติกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และภาษาพูดร่วมกันมักจะไม่มีความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นเมื่อมีการปะทะสังสรรค์ของวัฒนธรรมที่ต่างกัน  การปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมนี้เกิดจากการแพร่กระจายของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งหรือทั้งสองชุด  ทั้งนี้อาจเกิดจาก
(1) การอพยพย้ายถิ่นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้ามาสู่อาณาบริเวณที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมอื่นอยู่แล้ว ถ้าการอพยพย้ายถิ่นนี้ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นมิตรก็จะเกิดความขัดแย้งได้
(2) การขยายดินแดนของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อเสริมอาณาเขตของตนซึ่งมีผลในการรุกรานกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้รวมทั้งการยกทัพไปสู้รบกันดังเช่นสงครามสมัยโบราณ
(3) การล่าอาณานิคมของสังคมตะวันตก โดยกลุ่มที่มีอำนาจสามารถเข้าไปครอบครองและเผยแพร่วัฒนธรรมของตนด้วย
(4) นอกจากนี้ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอาจเกิดจากการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมโดยการสื่อสาร ถ่ายทอดผ่านสื่อมวลชน ระบบการศึกษา และเทคโนโลยีต่างๆ
อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์มีสูงเพราะสังคมวัฒนธรรมขัดแย้งกัน การปรับรับวัฒนธรรมซึ่งกันและกันไม่เกิดขึ้น  ปัญหาเรื่องความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ เกิดจากการที่แต่ละฝ่ายพยายามรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนและไม่ยอมรับวัฒนธรรมของสังคมข้างเคียง หรือถ้าความขัดแย้งเกิดจากกรณีของการช่วงชิงอำนาจ ความสัมพันธ์จะอยู่ในลักษณะศัตรูหรือคู่ปรับ เกิดสงครามช่วงชิงพื้นที่หรือผู้คน ข้อมูลในประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นตัวอย่างของความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีสังคมวัฒนธรรมภาษาพูดต่างกันอยู่เป็นประจำ ในกรณีที่มีความขัดแย้งทางวัฒนธรรมรุนแรง อาจเกิดเป็นขบวนการต่อต้าน เช่น ขบวนการแยก ดินแดนหรือขบวนการก่อการร้าย
ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมคืออะไร

ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม(cultural conflicts) อาจเป็นคำที่ไม่คุ้นหูสำหรับหลายๆคน เป็นคำที่ใช้เรียกรวมๆของความตึงเครียด ความแตกร้าว ความเห็นที่ไม่ตรงกันอันเกิดจากการพบกันของวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกัน หากการสร้างกลุ่มประชากรซึ่งเป็นมาตรหลักของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน สมัยปัจจุบัน ให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างอาศัยเงื่อนไขหลักอย่างหนึ่งคือความเหมือนกันของ วัฒนธรรม ก็จะสามารถแยกกลุ่มประชากรสองกลุ่มได้โดยอัตโนมัติอาศัยความต่างทางวัฒนธรรม เนื่องจากประชากรแต่ละคนจะซึมซับเอาวัฒนธรรมของกลุ่มที่ตนเองอยู่เข้าไปใน บุคลิกของตนไม่มากก็น้อย ทำให้เป็นธรรมดาที่ระหว่างปัจเจกชนซึ่งอยู่ในกลุ่มประชากรที่ต่างกันมี แนวทางความคิดและการกระทำที่ต่างกัน ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคปัจจุบันที่การติดต่อระหว่างประเทศเป็นไปอย่างกว้างขวาง ประเทศที่ยืนหยัดในความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมก็เพิ่มขึ้น ผลก็คือการเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอันเกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมขึ้น ครั้งแล้วครั้งเล่านั่นเอง
ปัจจัยหลักที่ทำให้แนวคิดใหม่ที่เรียกว่า " ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม " มีความสำคัญขึ้นโดยฉับพลันคือ ตามที่ได้กล่าวไว้ ความต้องการการพัฒนาที่พร้อมกันของการยืนกรานในความเป็นเอกลักษณ์ทาง วัฒนธรรม และการขยายใหญ่ของการติดต่อระหว่างประเทศ แต่ปัจจัยที่เป็นรูปธรรมกว่านั้น มีสองจุดที่สำคัญคือ
1. ปัจจุบันเวทีของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ครอบคลุมทั่วโลกเป็นครั้งแรก บนหน้าประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มนุษย์
2. ความจริงที่ว่าการติดต่อระหว่างประเทศของปัจเจกชนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การติดต่อระหว่างผู้มีวัฒนธรรมต่างกันหลายแบบจึงเกิดขึ้น แต่ ศาสนา ภาษา วิถีพื้นบ้าน ศิลปะ โดยเฉพาะด้านความคิด ก็มีการสืบทอดของวัฒนธรรมที่ต่างกัน เมื่อสัมผัสกับวัฒนธรรมของผู้อื่นก็แน่นอนว่าจะต้องเกิดความขัดแย้งขึ้น แต่หากมองอีกด้านหนึ่ง เมื่อก่อนการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศดำเนินด้วยองค์กรของรัฐหรือเจ้า หน้าที่ไม่กี่คนเท่านั้น ตอนนี้ การสื่อสารระหว่างประเทศมีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด บุคคลนับไม่ถ้วนที่มีกลไกหรือเป้าหมายต่างๆสามารถข้ามพรมแดนได้อย่างค่อน ข้างอิสระขึ้น  เหล่าผู้คนที่เอาวัฒนธรรมที่แตกต่างมาสัมผัสกันก็ย่อมเกิดความขัดแย้งขึ้น อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงก็ว่าได้ แต่ไม่เคยมียุคสมัยใดที่ยอมรับการมองต้นเหตุและกลไกนั้นอย่างชัดเจนและเผชิญ กับมันอย่างฉลาดเท่ายุคสมัยนี้อีกแล้ว ที่จริงแล้วในประเทศเดียวกันก็เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมได้ แต่ก็ไม่ถูกมองเป็นปัญหาเท่าความขัดแย้งทางวัฒธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากในประเทศ คนหนึ่งคนมีสิ่งที่นับถือหรือเชื่อถืออยู่มากมาย ความนับถือความเชื่อถ้าถูกหักล้าง หรือซับซ้อนขึ้น ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมก็ไม่กลายเป็นเรื่องรุนแรง แต่ทว่า มนุษย์มากมายที่มีชีวิตอยู่ในยุคชาตินิยมนั้น ในมิติของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีแนวโน้มที่จะรู้สึกรุนแรงต่อความเป็นส่วนหนึ่งของชาติหรือเผ่าพันธุ์ ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมระหว่างชาติ บางครั้งก็จะแสดงในรูปร่างที่ร้อนแรง
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก่อนที่จะมีมนุษย์เกิดขึ้นก็มีความหลากหลายในธรรมชาติเป็นพื้นฐานมาก่อน มนุษย์ก็เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ในที่แต่ละแห่งมนุษย์ก็ย่อมเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน และอยู่ร่วมอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ จึงมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน เรียกว่าเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ กับความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกัน เพราะว่าชีวิตต้องเกิดขึ้นในที่ต่างๆ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2004 มีประชากรประมาณ 600 ล้านคน เกาะชวา คือเกาะที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา และ ศาสนา รวมทั้งมีชาวจีนอพยพมาเป็นจำนวนมาก แต่ละประเทศพบว่า มีความหลากหลาย ทางเชื้อชาติ หลากหลายศาสนา มีทั้งไทย จีน ญวน ลาว เขมร มอญ มาลายู ศาสนาก็มีทั้ง พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู ซิกส์
ศาสนาพุทธเป็นวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของคนไทย ลาว พม่า เวียดนาม ในขณะที่ ศาสนาอิสลามก็เป็นวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของคนของคนมาเลเซีย อินโดนีเซีย บูรไน และศาสนาคริสต์เป็นวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของคนฟิลิปินส์ ซึ่งหากแบ่งตามสถิติจะได้ดังนี้
บรูไน: อิสลาม (67%) พุทธมหายาน (13%) คริสต์ (10%) ภูตผี และอื่นๆ (10%)
กัมพูชา: พุทธหินยาน (93%) ภูตผี และอื่นๆ (7%)
ติมอร์ตะวันออก: คริสตศาสนา (95%)
อินโดนีเซีย: อิสลาม (81%) คริสต์ พุทธ ฮินดู และอื่นๆ
ลาว: พุทธหินยาน (60%) Animism และอื่นๆ (40%)
มาเลเซีย: อิสลาม (61%) พุทธมหายาน (20%) คริสต์ ฮินดู และอื่นๆ
พม่า: พุทธหินยาน (89%) อิสลาม (4%) คริสต์ (4%) ฮินดู (1%) และ ภูตผี
ฟิลิปปินส์: คริสต์ (92%) อิสลาม (5%) พุทธ และอื่นๆ (3%)
สิงคโปร์: ศาสนาตามประเทศจีน (พุทธมหายาน เต๋า และ ขงจื๊อ) (51%) อิสลาม (15%) คริสต์ (14%) ฮินดู (4%) อื่นๆ (16%)
ไทย: พุทธหินยาน (95%) อิสลาม (3%) ฮินดู คริสต์ และ ฮินดู
เวียดนาม: พุทธมหายาน (50%) ขงจื๊อ และ คริสต์ (50%)
ที่ใดที่มีการเข้าถึงความหลากหลายทางธรรมชาติ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อมจะมีสันติสุขหากมีการจัดการทางวัฒนธรรมที่ดี แต่ที่ไหนที่มีความขัดแย้งก็เกิดความรุนแรงขึ้น ยกตัวอย่างประเทศพม่าเป็นที่อยู่ของชนหลายเผ่า ที่อพยพมาอยู่รวมกันที่ลุ่มแม่น้ำอิรวดี ก็เกิดการกระทบกระทั่งขัดแย้งกันมาเรื่อยๆ เคยมีการรวมตัวกันแต่สุดท้ายก็ไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ มีการรวมตัวกันยากมาก มีความขัดแย้งเรื้อรังมาเรื่อยจนถึงบัดนี้ ที่มาเลเซียและอินโดนีเซียเคยมีการทะเลาะกันระหว่างชาวมลายูกับชนเชื้อสายจีน
โลกปัจจุบันกำลังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า "สงครามวัฒนธรรม" (Culture Wars) หรือ "ความขัดแย้งระหว่างอารยธรรม" (The Clash of Civilizations ) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโลกทัศน์ 2 แบบ ที่กำลังต่อสู้กันอยู่ ความขัดแย้งระหว่างโลกทัศน์ที่แตกต่างทั้งสองนี้ กำลังส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมโลกทั้งมวล รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "การปะทะระหว่างอารยธรรม"ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยอคติ และความคลางแคลงใจระหว่างศาสนาและเชื้อชาติ ฮันติงตัน เชื่อว่า "ความ แตกแยกระดับมหาภาคระหว่างมนุษย์ด้วยกัน และที่มาของความขัดแย้งต่างๆ จะมาจากด้านวัฒนธรรม การปะทะกันระหว่างอารยธรรม จะครอบงำการเมืองโลก ... การปะทะที่สำคัญที่สุดจะเป็นการปะทะกันระหว่างอารยธรรมตะวันตก กับ "อารยธรรม ที่มิใช่ตะวันตก" ซึ่งภาพสะท้อนดังกล่าวนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ด้วยเช่นกัน
การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีสองวิธีคือ
1.การจัดการด้วยวิธีใช้ความรุนแรงและการจัดการด้วยสันติวิธีซึ่งรายละเอียดนั้นมีดังนี้ 
2. การจัดการด้วยวิธีใช้ความรุนแรง 
หากสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเข้าถึงความหลากหลายทางธรรมชาติ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อมจะมีสันติสุข ในขณะเดียวกันหากสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่สามารถจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม และต่างวัฒนธรรมมีความขัดแย้งถือวัฒนธรรมของวัฒนธรรมตนเป็นใหญ่ เยียดหยาม ดูถูกวัฒนธรรมอื่น ก็จะนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด ซึ่งสอดกคล้องกับทฤษฎีความรุนแรงในมุมของ ลูอิส โคเซอร์ (Lewis A. Coser) นักสังคมวิทยาที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ซึ่งมีมุมมองไปในแนวทางทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) และได้เสนอทฤษฎีหน้าที่ในทางสังคมของความรุนแรง (Social Functions of Violence) โคเซอร์ได้เสนอแนวความคิดว่าความรุนแรง (Violence) ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นปัญหาและสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาแท้ที่จริงแล้วมี หน้าที่ (Function) ที่สำคัญยิ่งในทุกสังคมนักทฤษฎีในแนวขัดแย้งนี้เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลง (Change) เป็นสิ่งปกติ (Normal) และไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา (Undesirable) แม้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน (Radical Change) ก็ตาม 
การใช้ความรุนแรงในการเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และสำหรับผู้มีอำนาจเหล่านี้ความสำเร็จก็คือ "อำนาจ" ที่มากขึ้นและเด็ดขาด และนี่คือลักษณะการใช้ความรุนแรงของผู้ที่เข้มแข็ง เพื่อให้คนสังคมที่อยู่ในรัฐเดียวกัน พรมแดนเดียวกันถืงแม้จะมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมยอมรับและปฏิบัติวัฒนธรรม ของผู้มีอำนาจและอาจถึงขั้นปฏิเสธและยกเลิกวัฒนธรรมท้องถิ่นอันนำไปสู่ความ ปึกแผ่นของวัฒนธรรมชาติในขณะเดียวกันวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีความหลากหลายใน แต่ละประเทศก็จะใช้ความรุนแรงในฐานะของผู้ที่อ่อนแอ เช่นกันเพื่อต่อสู้วัฒนธรรมของตน เป้าหมายของการใช้ความรุนแรงส่วนใหญ่กลับไม่ได้เป็นอำนาจ แต่บางครั้งเป็นแค่ การเรียกร้อง (Demand) การประท้วง (Protest) การแสดงความไม่เห็นด้วย (Disagreement) หรือการอยากให้สังคมรับรู้ (Recognition) เราจะเห็นสิ่งเหล่านนี้ในชนกลุ่มน้อยในแต่ละประเทศ ไม่ว่าภาคใต้ของไทย หรือภาคใต้ของฟิลิปินส์ โรฮิงยาในพม่า กรณีที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นภาคใต้หรือผู้ก่อการนี้ ความรุนแรงที่ถูกใช้โดยรัฐผ่านเจ้าหน้าที่รัฐบางคนในอดีต ทั้งที่เป็นความรุนแรงแบบที่ใช้กำลัง (Physical Violence) เช่นการจับกุม ข่มขู่ ต่างๆนานา หรือการใช้กำลังผ่านระบบหรือโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม (Structural Violence) เช่น การตรวจค้นแบบไม่มีเหตุผล การแสดงความประพฤติในแนวดูถูกเชื้อชาติหรือศาสนา หรือมองผู้ก่อการหรือผู้ต้องหาไม่ใช้คนไทย ไม่ใช่อินโดนีเซีย ไม่ใช่พม่า ไม่ใช่เวียดนามและอื่นๆ เหล่านี้ล้วนเป็นความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อรัฐต่อสังคมโดยรวม และนี่ทำให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันของผู้มีชะตากรรมร่วมกัน ความรู้สึกความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ ยังเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากที่เหตุการณ์กรือเซะ ตากใบหรือการที่ชาวบ้านโดนถล่มด้วยอาวุธสงครามพร้อมความรู้สึกจากชาวบ้านว่า ทหาร ตำรวจเป็นคนทำเพราะชาวบ้านจะเอาอาวุธสงครามมาจากไหนในท่ามกลางทหารและตำรวจ เต็มพื้นที่เกือบทุกตารางนิ้ว หลายๆ ครั้งคนระดับเสนาบดีของรัฐเคยใช้ด้วยถ้อยคำที่ ความรุนแรงและดูถูกคนในพื้นที่ว่าไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐ ความรุนแรงในทางคำพูด (Verbal Violence) ดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะไม่ช่วยให้เหตุการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังตอกย้ำสะท้อนให้เห็นถึงระยะห่างระหว่างชาวบ้านและรัฐที่นับวันจะยิ่งแย่ลงอีกด้วย สุดท้ายความรุนแรงในการปราบปรามในอดีตแบบเวี่ยงแห อคติต่อประชาชนในพื้นที่เป็นอีกชนวนที่ทำให้ความรุนแรงนั้นขยายตัว ที่สำคัญความขัดแย้งขยายวงไปสู่กรอบของศาสนาด้วยเพราะรัฐส่วนใหญ่เป็นชาวไทย พุทธและประชาชนส่วนเป็นมลายูมุสลิม และปัจจัยเหล่านี้เอง ก็ให้เกิดความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น
การจัดการด้วยสันติวิธี 
ประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบภาวะวิกฤต ทั้งทางการเมืองและทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งถ้าคลี่คลายไม่ได้จะนำไปสู่ภาวะวิกฤตทางจิตใจ เศรษฐกิจ และอื่นๆ รวมถึงอาจเกิดการปะทะรุนแรง ถึงขั้น บาดเจ็บ ล้มตาย ทรัพย์สินเสียหาย ฯลฯ กลายเป็น "โศกนาฏกรรม" ที่สร้างรอยร้าวและบาดแผลในดวงจิตของคน "สันติวิธี" เป็นสะพานสู่ทางออกจากวิกฤต "สันติวิธี" จึงน่าจะเป็น "สะพานสู่ทางออก" จาก "วิกฤตความรุนแรงอันเนื่องมาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมของสังคมไทยและ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ในปัจจุบัน
สันติวิธี คือวิธีการจัดการกับความขัดแย้งวิธีหนึ่ง การใช้สันติวิธีมีเหตุผลสำคัญตรงที่ว่า เป็นวิธีการที่น่าจะมีการสูญเสียน้อยที่สุด ทั้งระยะสั้นระยะยาว ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ผิดกับการใช้ความรุนแรง ซึ่งทุกฝ่ายอ้างว่าเป็นวิธีการสุดท้าย ซึ่งบางกรณีสามารถบรรลุผล ในระยะสั้นเป็นรูปธรรมชัดเจน แต่หากความขัดแย้งดำรงอยู่เพียงแต่ถูกกดไว้ 
โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงในระยะยาวย่อมมีอยู่ ส่วนในทางนามธรรม เช่น ความเข้าใจอันดี ความสามัคคีปรองดอง นั้นย่อมเกิดขึ้นได้ยากด้วยวิถีความรุนแรง บางคนมองสันติวิธีในลักษณะปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจ เช่น การใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง เพื่อให้รัฐหรือผู้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือพฤติกรรมบางคนใช้สันติวิธี เพราะความเชื่อว่าจะให้ผลที่ยั่งยืนและเป็นไปตามหลักจริยธรรม หรือ ศาสนธรรม บางคนใช้สันติวิธีตามหลักการบริหารเพื่อลดความขัดแย้ง ไปใส่รูปแบบอื่นที่จะจัดการได้ดีกว่า โดยไม่ใช้ความรุนแรง ลักษณะสำคัญของสันติวิธี คือ ไม่ใช่วิธีที่เฉื่อยชาหรือยอมจำนน หากเป็นวิธีที่ขันแข็งและต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่ยุทธวิธีที่เลือกใช้ในบางโอกาส หากเป็นยุทธศาสตร์ที่ปฏิบัติได้อย่าสม่ำเสมอ เป็นสัจธรรมที่น่าเชื่อถือไม่ใช่วิธีที่ดีในเชิงกระบวนการเท่านั้น หากเป็นวิธีที่หวังผลที่กลมกลืนกับวิธีการด้วย
ความขัดแย้งทางสังคม และความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่
ปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติมี ๓ ระดับ คือ
ระดับความขัดแย้งในขั้นต้น เป็นความขัดแย้งเฉพาะหน้า ที่ต้องประเมินสถานการณ์ว่าจะเกิดความรุนแรงหรือไม่ และมีทิศทางอย่างไร โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ ทหารสามารถเข้ามาคลี่คลายสถานการณ์ได้
ระดับความขัดแย้งในเชิงโครงสร้าง เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในระบบต่าง ๆ ของสังคม ซึ่งต้องแก้ปัญหา  ที่ระบบ  และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดและการดำเนินวิถีชีวิตที่มีความแตก ต่างกัน  ซึ่งการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับนี้ต้องอาศัยระยะเวลา และต้องให้ความสำคัญกับคนทุกเชื้อชาติและทุกวัฒนธรรม
ความขัดแย้งของสังคมไทยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติและแนวทางแก้ไข 
- การปฏิรูประบบราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะการเปิดกว้างให้สามัญชนทั่วไปสามารถเข้าถึงระบบการศึกษา ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงโครงสร้างโดยมีชนชั้นกลางเข้าสู่ระบบราชการมากขึ้น และส่วนหนึ่งของข้าราชการที่มาจากชนชั้นกลางนี้กลายเป็นกลุ่มเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากการปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้เป็นไปอย่างที่   ทุกฝ่ายคาดหวัง แต่กลับนำไปสู่ความขัดแย้งทางความคิดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการ ปฏิวัติรัฐประหารในเวลาต่อมาอีกหลายครั้ง และเมื่อ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ายึดอำนาจและขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้นำพาประเทศเข้าสู่กระแสการปฏิวัติอุตสาหกรรมตามแนวทางชาติตะวันตก มีการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้น และมีการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ทำให้เกิดชนชั้นกลางที่มาจากนายทุนนอกระบบราชการจำนวนมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงโครงสร้างอีก ครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมมักจะนำไปสู่ความขัดแย้งในเชิงโครงสร้างเสมอ เช่นเดียวกับที่สังคมไทยประสบ โดยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลายครั้งได้ขยายวงกว้างจนนำไปสู่การต่อสู้โดยใช้ความรุนแรง ทำให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง จนประเทศชาติขาดความมั่นคง ดังเห็นได้จากเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยตลอดมาตราบจนถึงปัจจุบัน 
- ในห้วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของไทยเจริญเติบโตทำให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ระบบการกระจายรายได้ยังไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทาง เศรษฐกิจและสังคมระหว่างสังคมเมืองและชนบทอย่างมาก  ทั้งนี้การพัฒนาและการปฏิรูปในแต่ละครั้งที่ดำเนินการโดยละเลยชาวบ้านในชนบท ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ยิ่งเพิ่มช่องว่างของความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจนให้มีมากขึ้น จนกระทั่งการเมืองไทยในระยะหลังได้มีการดำเนินนโยบายที่กระจายผลประโยชน์ไป สู่ชนบทด้วย "นโยบายประชานิยม" ซึ่งเป็นการเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว ทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าให้ความนิยมเนื่องจากได้รับการดูแลอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยที่ประชาชนเหล่านั้นมิได้คำนึงว่าผลประโยชน์ที่ได้รับเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและมิใช่  การพัฒนาที่ยั่งยืนในขณะที่ประชาชนในเมืองโดยเฉพาะปัญญาชนเห็นว่า นโยบายดังกล่าวไม่ชอบธรรมเพราะเป็นการนำภาษีจากรายได้ของพวกตนไปให้กับชาวชนบท จึงต่อต้านแนวนโยบายดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความขัดแย้งทางความคิดที่ลุกลามนำไปสู่การรัฐประหารในปี๒๕๔๙  ในที่สุด
-สังคมไทยมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ แต่แนวคิดในอดีตไม่ให้การยอมรับในความหลากหลายจึงมีการใช้นโยบายผสมผสาน ระหว่างเชื้อชาติเพื่อให้เกิดความกลมกลืนเป็นไทย  โดยมิได้คำนึงถึงแนวคิดของกลุ่มชนเชื้อชาติต่างๆ ส่งผลให้เกิด ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในกรณีพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม ที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งรัฐบาลในอดีตได้เคยดำเนินนโยบายให้มีการผสมกลมกลืนให้เกิดความเป็นไทย ทำให้ชาวไทยมุสลิมเกิดความรู้สึกขัดแย้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์บานปลายดังที่เห็นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามปัจจุบันภาครัฐมีการยอมรับในความหลากหลาย และได้ตระหนักแล้วว่าการที่แต่ละเชื้อชาติดำรงอัตลักษณ์เดิมของตนนั้นเป็น แนวทางเชิงบวกเนื่องจาก ความหลากหลายของเชื้อชาติก่อให้เกิดความหลากหลายของวัฒนธรรม และความหลากหลายของภูมิปัญญาซึ่งจะกลายเป็นทางเลือกที่หลากหลายในการแก้ปัญหาต่างๆในแต่ละพื้นที่
-ปัจจุบันโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สังคมไทยโดยเฉพาะในชนบทรู้ ไม่เท่าทันองค์ความรู้ดังกล่าว อีกทั้งทุนนิยมแบบใหม่กำลังรุกล้ำเข้าสู่ชนบทท้องถิ่นโดยมีการละเมิด ทรัพยากร- ธรรมชาติในพื้นที่ป่า ลุ่มน้ำ ชายฝั่งทะเล ฯลฯ ผ่านอำนาจอนุมัติของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยทรัพยากรเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนชีวิตซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคน ไทยทั้งชาติ จึงเป็นเรื่องที่สร้างความขัดแย้งแก่สังคมไทย โดยประชาชนในเมืองหรือในศูนย์กลางประเทศซึ่งส่วนใหญ่มีความรู้แต่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอและอาจจะไม่สามารถรวมพลังเพื่อปกป้องสิทธิได้ อีกทั้ง "การถ่วงดุล" อำนาจอธิปไตยของไทย ๓ ด้าน คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ยังเข้าไปถ่วงดุลในระดับท้องถิ่นได้ไม่ทั่วถึง  ดังนั้นการถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพด้วยการรวมพลังแสดงสิทธิปกป้องทรัพยากร จึงควรมาจากระดับท้องถิ่นทั้งระดับ  อบต. หรือ อบจ. และที่สำคัญยิ่งคือประชาชนในท้องถิ่น  โดยรัฐต้องให้ประชาชนได้รับการศึกษาเพื่อให้รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ รวมทั้งต้องทำให้การปกป้องสิทธิของประชาชนในท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม แม้การปกป้องสิทธิจะเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังภาคประชาชน แต่ก็มักนำไปสู่ความขัดแย้งในพื้นที่เสมอ ดังเห็นได้จาก กรณีการปะทะกันระหว่างประชาชนกับตำรวจในการคัดค้านท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา   การประท้วงของคนในชุมชนมาบตาพุด เป็นต้น 
- การแก้ไขหรือบรรเทาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ควรนำแนวทางสันติวิธีมาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา เนื่องจากแนวทางสันติวิธีคำนึงถึงความมั่นคงอย่างสมดุลในทุกมิติ การบังคับใช้กฎหมายด้วยหลักนิติธรรม  สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ จริยธรรม และความเท่าเทียมเสมอภาค  รวมถึงความรู้สึกของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นหลักการที่ควรรณรงค์ให้ประชาชนทุกเพศและวัย มีความเข้าใจในแนวทางสันติวิธีและนำไปใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งใน ทุกระดับที่ตนเผชิญ อย่างไรก็ตาม การนำไปปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่รัฐควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ดุลยพินิจตีความโดยขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้อาจจะ สร้างเงื่อนไขใหม่ในการแก้ปัญหาและอาจจะนำความขัดแย้งไปสู่ความรุนแรงของ เหตุการณ์ได้  ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจว่า ในบางสถานการณ์เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถใช้กฎหมายหรือแนวทางสันติวิธีได้ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงและต้องการวิธีแก้ไขที่เด็ดขาดและทันท่วงที  เช่น กรณี ๓ จชต. เป็นต้น
กระบวนทัศน์ (paradigm) ของความมั่นคงแห่งชาติ (National Security) ในปัจจุบันอาจจะไม่สามารถนำมาจัดการปัญหาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในเชิง โครงสร้างและกระแสโลกาภิวัตน์ได้เช่นในอดีต ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการมองสังคมไทยในมิติของ สังคมเสี่ยง (Risk Society) ที่ มีสมมติฐานคือ ความไม่แน่นอน  สิ่งที่เคยถูกเชื่อว่ามีประโยชน์หรือเป็นโอกาสในอดีต ปัจจุบันกลับถูกพิสูจน์ว่าเป็นโทษหรือเป็นภัยคุกคาม  ประเทศส่วนหนึ่งในโลกไม่คำนึงถึงกฎกติกาสากล ทำให้ระบบระหว่างประเทศล้มเหลว สังคมโลกจึงควรพัฒนาระบบพหุภาคีให้มีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทยปัญหาส่วนหนึ่งที่ได้รับจากภาวะสังคมเสี่ยงซึ่งเป็นเรื่อง ที่น่ากังวลใจคือความทันสมัยตามกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลให้สังคมไทยรวมทั้งชาว ชนบทต้องการความเป็นอยู่ที่ดีและทัดเทียมในรูปแบบเดียวกันกับสังคมเมือง โดยมิได้คำนึงถึงรากเหง้าของความเป็นสังคมเกษตรกรรม อู่ข้าวอู่น้ำของโลก และมีภูมิปัญญามากมายอันมีค่าของบรรพบุรุษ  จึงควรปลุกจิตสำนึกของชาวชนบทให้กลับมาภูมิใจในความเป็นเกษตรกรและปลูกจิตสำนึกของคนในสังคมเมืองให้เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นสังคม เกษตรกรรม รวมทั้งให้ประชาชนชาวไทยตระหนักโดยพร้อมเพรียงกันว่า โลกาภิวัตน์ไม่ใช่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือตัวอย่างของการรับมือกับโลกาภิวัตน์ได้ ดีที่สุดในปัจจุบัน 

สรุป

สังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม กำลังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า "สงครามวัฒนธรรม" (Culture Wars) หรือ "ความขัดแย้งระหว่างระหว่างอารยธรรม" (The Clash of Civilizations) ซึ่งเป็นผลมาจากกระแส "การปะทะระหว่างอารยธรรม" ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยอคติ และความคลางแคลงใจระหว่างศาสนา เชื้อชาติและวัฒนธรรม และนำมาซึ่งการแตกแยกทางสังคมระหว่างประเทศ และในประเทศ การขัดแย้งกันทางเชื้อชาติ ศาสนา
ดังนั้นการจัดการสังคมและวัฒนธรรมบนความหลากหลายจะต้องมีเอกภาพของคนในชาติและรัฐของตน ในขณะเดียวกันการใช้สันติวิธีผ่านกระบวนการต่างๆอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไม่ว่า และการยอมรับการคงอยู่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเชื้อชาติ

บทที่5 สิทธิมนุษยชนในสังคมโลก


สิทธิมนุษยชน

        สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักดิ์ศรีมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้นตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใด ๆ
        สิทธิมนุษยชน หมายถึงแนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ที่ว่า มนุษย์นั้นมีสิทธิหรือสถานะสากล ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับขอบเขตของกฎหมาย หรือปัจจัยท้องถิ่นอื่นใด เช่น เชื้อชาติ หรือ สัญชาติ
        จาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าวว่า "มนุษยทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง"[1]
        ความดำรงอยู่ ความถูกต้อง และเนื้อหาของสิทธิมนุษยชน เป็นหัวข้อที่เป็นที่โต้เถียงกันมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในทางปรัชญาและรัฐศาสตร์ ตามกฎหมายแล้ว สิทธิมนุษยชนได้ถูกบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ และในกฎหมายภายในของหลายรัฐ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนจำนวนมากแล้ว หลักการของสิทธิมนุษยชนนั้นกินขอบเขตเลยไปกว่ากฎหมาย และก่อร่างขึ้นเป็นหลักศีลธรรมพื้นฐานสำหรับวางระเบียบภูมิศาสตร์การเมืองร่วมสมัย สำหรับคนกลุ่มนี้แล้ว สิทธิมนุษยชนคือความเสมอภาคในอุดมคติ

สิทธิมนุษยชนตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

 กล่าวนำ

        ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๑ ในฐานะ ที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ โดยประเทศสมาชิกต่างมีเจตจำนงประการสำคัญว่า การคุ้มครองสิทธิ-มนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเงื่อนสำคัญประการหนึ่งที่จะก่อให้เกิดสันติภาพในประเทศสมาชิก ที่ร่วมองค์กรและสังคมระหว่างประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่าง ๆ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ, ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่ง, การเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ตลอดจนกติการะหว่างประเทศที่ว่าด้วยการจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ฯลฯ เป็นต้น

 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกับสิทธิมนุษยชน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีสาระสำคัญเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งมีบทบัญญัติมาตรา ๑๙๙ และ มาตรา ๒๐๐ บังคับไว้ในส่วนที่ ๘ ที่ว่าด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งมีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ต่อมาได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติไว้ในหมวด ๑๑ ส่วนที่ ๒ ว่าด้วยองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
มาตรา ๒๕๖ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นหน่วยงาน ที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๒๕๗ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
(๒) เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
(๓) เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(๔) ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจาก ผู้เสียหายและเป็นกรณีที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
(๕) เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และ กฎ ต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
(๖) ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
(๗) ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
(๘) จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา
(๙) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบด้วย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจเรียกเอกสารหรือ หลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ รวมทั้งมีอำนาจอื่นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

 สิทธิมนุษยชน คืออะไร

        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๓๓๔ (๑) กำหนดบังคับไว้ให้ออกกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายใน ๒ ปี นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญใช้บังคับ รัฐบาลจึงได้ออกกฎหมายมารองรับ เรียกว่า พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ซึ่งมีประเด็นสำคัญ พอสรุปได้ดังนี้
(๑) มาตรา ๓ ให้คำจำกัดความว่า สิทธิมนุษยชนหมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม
        ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือศักดิ์ศรีความเป็นคนเป็นสิ่งที่ทุกคนมีติดตัวมาแต่กำเนิด โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือแนวคิดอื่น ๆ เผ่าพันธุ์ หรือสังคม ทรัพย์สิน ถิ่นกำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ เช่น คนเราทุกคนมีสิทธิได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายไม่ว่าที่ไหน เมื่อไร (ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๖)
        คนเราทุกคนเกิดมามีอิสระเสรี มีศักดิ์ศรี มีสิทธิเท่าเทียมกันหมดทุกคนได้รับการประสิทธิประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง (ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑)
        รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติรับรอง กำชับ และเรียกร้องเมื่อถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้ด้วย อย่างชัดเจน ได้แก่
(๒) มาตรา ๔ บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
(๓) มาตรา ๒๖ บัญญัติว่า การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ
(๔) มาตรา ๒๘ บัญญัติว่า บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

                    สิทธิมนุษยชนกับทหาร

        ทหารจำเป็นต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากกรณีเหตุการณ์ใช้กำลังเข้าระงับการชุมนุมระหว่างวันที่ ๑๗ - ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ ๑๒ กันยายน ๒๕๓๕ รับทราบรายงานของคณะกรรมการกลั่นกรองรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จริงของเหตุการณ์ดังกล่าว และเห็นชอบตามข้อสังเกตและความเห็นของคณะกรรมการ ฯ โดยมีมาตรการที่เกี่ยวกับกระทรวงกลาโหม คือ
        ข้อ ๓ รับไปดำเนินการบรรจุวิชาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนพื้นฐานในการแสดงออกอย่างเสรีในหลักสูตรการศึกษาทุกแขนง โดยเฉพาะการบรรจุวิชาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนพื้นฐานในหลักสูตรวิชาทางทหาร ตำรวจ และนักปกครองระดับต่าง ๆ เพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯลฯ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

ตามมาตรา ๒๕๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บัญญัติว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย
ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การถอดถอน และการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว มีคุณสมบัติดังนี้

        มาตรา ๖ ของพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ประธานคณะกรรมการ
๑. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
๒. มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
๓. ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
๔. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งของพรรคการเมือง
๕. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
๖. ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
๗. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
๘. ไม่เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
๙. ไม่เป็นบุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันได้รับการเสนอชื่อ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
๑๐. ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือเพราะประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
๑๑. ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
๑๒. ไม่เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการป้องกันและปราบ-ปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๑๓. ไม่เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง

บทที่4 การสร้างความเป็นธรรมในสังคมโลก


ปาฐกถาพิเศษ อมาตยา เซน กาลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม
วันที่ 17 ธันวาคม   2553 " อมาตยา เซน "   ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ พ.ศ.2541   ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม" (Building social  justice to close the social GAP) ในเวทีประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ.2553   ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ  โดยมีสาระสำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้
 อมาตยา เซน   กล่าวว่า   ทุกวันนี้เชื่อว่าความยุติธรรมทางสังคมต้องเน้นไปที่คุณภาพชีวิตควบคู่กับเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งตอนนี้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยอาจถดถอยกว่าในอดีต   เพราะมีความไม่พอใจในเรื่องการกระจายอำนาจทางการเมืองอยู่บ้าง  อย่างไรก็ตามประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ และประเทศไทยก็เป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่และผมเองก็ชอบมากด้วย


เมื่อปี ค.ศ.1964  ผมได้เดินทางมายังประเทศไทยเป็นครั้งแรก ไทยเป็นประเทศที่ค่อนข้างก้าวหน้า แต่ไทยยังมีช่องว่างทางสังคมที่ประชาชนยังไม่พอใจอยู่เยอะเหมือนกัน มีการวิจารณ์กันมากว่าในสังคมไทยมีทั้งผู้มีอำนาจและผู้ที่ไม่มีอำนาจ  ผมเข้าใจว่า ความเข้าใจของคนไทยที่ไม่มีความรู้นั้นโดยพื้นฐานแล้วจะเกิดความระแวงขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อการที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบทางการเมือง รวมถึงการใช้อำนาจทางการเมืองมาตอบสนองความต้องการทุกอย่างไม่ได้   ความไม่พอใจระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับประชาชน ท้ายที่สุดเราก็ยังต้องตั้งคำถามต่อไปว่า ทำไมความไม่พอใจยังมีอยู่ในสังคมไทย และอาจส่งผลกระทบไปถึงความรุนแรง
 ในการเสวนาหรือการพูดคุยกันนั้น รัฐบาลเองก็ต้องมีส่วนร่วมเพื่อหาช่องว่างทางสังคม หมายความว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันแก้ไข ผมมาเยี่ยมประเทศไทยบ่อยครั้ง  ปัญหาของไทยถือว่าเป็นปัญหาที่ทั่วโลกก็กำลังเผชิญเหมือนกัน ความไม่พอใจมีอยู่ทั่วโลกนั้น ต้องคิดต่อไปว่าคนไทยต้องทำอย่างไร มีการใช้ประโยชน์ทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน
 กรณีของไทยไม่ได้โดดเด่นหรือแปลกไปจากประเทศอื่นเลย จะแปลกก็อยู่ที่ว่าฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไข มีการที่ปล่อยให้แตกออกเป็น 2 ฝ่าย แบ่งออกเป็นกลุ่มก้อน แยกกันคิด ซึ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหา แต่ก็คือช่องว่างทางสังคมที่เกิดขึ้นเช่นกัน
  สมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นสถาบันที่ดีมาก ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางสังคม จำเป็นต้องให้เกิดขึ้นเพื่อบรรลุความยุติธรรม ช่องว่างอาจจะมีอยู่จริง ความไม่พอใจอาจเป็นความไม่พอใจแบบรุนแรง อย่างไรก็ตามต้องมีการประชุม มีการพูดคุยหารือกัน   เพราะสิ่งที่คนเห็นในประเทศว่าเกิดอะไรนั้นเป็นเรื่องสำคัญ คนในสังคมก็แสดงความคิดเห็นออกมามากมาย ซึ่งสังคมต้องนำมาแก้ไขและมองเห็นช่องว่างทางสังคมว่าเป็นช่องว่างในเชิงภูมิภาคหรือเชิงพื้นที่ หรือแม้กระทั่งช่องว่างความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท เพราะแต่ละภูมิภาคประสบปัญหาไม่เหมือนกัน
   ปัญหาความแตกต่างด้านภูมิภาคเกิดขึ้นทั่วโลกควรช่วยกันแก้ไขปัญหา ส่วนช่องว่างที่เกิดขึ้นมานานก็คือ ช่องว่างเชิงชนชั้น ในความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนจนกับคนรวย ซึ่งนำพาไปสู่ความไม่ลงรอยกันเหมือนประเทศอื่นๆในภูมิภาค นี่ถือเป็นปัญหาที่ควรแก้ไขและคิดกันใหม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์และความไม่เท่าเทียมกันทางชนชั้น
 ในเรื่องเพศวิถีนั้น ความแตกต่างระหว่างชายกับหญิงเกิดขึ้นสูง และยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในหลาย ๆ ประเทศ โอกาสทางสังคมมีน้อย เศรษฐกิจในหลายภาคส่วนไม่เกิด เสียงทางการเมือง  ขาดความสมดุล จนทำให้รัฐบาลได้ประโยชน์มากในทางการเมือง ซึ่งต้องมีการตรวจสอบ มีช่องว่างหลายช่องทำให้ประเทศชาติไม่ได้ประโยชน์  จึงต้องมีการเข้ามาตรวจสอบตรงนี้จุดนี้ให้มาก
 ส่วนเรื่องของศาสนาเป็นเรื่องที่อาจนำไปสู่การแบ่งแยกของคนในชุมชน ความไม่เสมอภาคย่อมเกิดตามมา การดูแลคนกลุ่มน้อยอาจจะเป็นเรื่องที่ดูท้าทายดี ในประชาธิปไตยนั้นคนกลุ่มใหญ่จะต้องมีความเข้าใจในปัญหาร่วมกัน ซึ่งก็ควรมีในประเทศไทยเช่นกัน ในการดูแลคนคนพิการ 6 ล้านคน จาก 6,000 ล้านคนทั่วโลก มีน้อยมาก ซึ่งมีผลต่อการหารายได้และการใช้ชีวิตของคนเหล่านั้นด้วย ซึ่งสังคมต้องพยายามให้ความช่วยเหลือคนพิการในส่วนนี้ เพื่อคนพิการจะได้ใช้แขนขาเทียมตามความต้องการ
 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญเราจำเป็นต้องร่วมกันคิดร่วมกันทำว่ามีอะไรบ้างที่นำไปสู่ความแตกแยกของคนในสังคม เมื่อความแตกแยกมารวมกันก็จะมีความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ และเชื่อว่า "ปัญหาสังคมไม่มีเพียงแค่นี้ ช่องว่างต่าง ๆ เป็นสิ่งที่นำไปสู่การแบ่งแยก และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือความแตกแยกหลายอย่างมารวมตัวกันก็จะกลายเป็นความยิ่งใหญ่ของปัญหา"

บทที่ 3 ค่านิยมในสังคมโลก



ค่านิยม
                ความหมายของค่านิยมมีผู้รู้หลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
                ค่านิยม มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “Value” และมาจากคำสองคำคือ ค่า” “นิยมเมื่อคำสองคำรวมกันแปลว่า การกำหนดคุณค่า คุณค่าที่เราต้องการทำให้เกิดคุณค่า คุณค่าดังกล่าวนี้มีทั้งคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม ซึ่งคุณค่าแท้เป็นคุณค่าที่สนองความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่วนคุณค่าเทียม หมายถึงคุณค่าที่สนองความต้องการอยากเสพสิ่งเปรนเปรอชั่วคู่ชั่วยาม
                ค่านิยม หมายถึง ทัศนะของคนหรือสังคมที่มีต่อสิ่งของ ความคิด และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปรารถนา คุณค่าและความถูกต้องของสังคมนั้นๆ เช่น ชาวอเมริกันถือว่า “ประชาธิปไตยมีค่าสูงสุดควรแก่การนิยมควรรักษาไว้ด้วยชีวิต อเมริกันรักอิสระ เสรีภาพ และความก้าวหน้าในการงานเป็นต้น ส่วนค่านิยมของคนไทยหรือคนตะวันออกโดยทั่วไปนั้นแตกต่างจากค่านิยมในอเมริกันหรือคนตะวันตก เช่น คนไทยถือว่าความสงบสุขทางจิตใจและการทำบุญให้ทานเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา การเคารพเชื่อฟังบิดามารดาและการกตัญญูรู้คุณเป็นสิ่งที่ควรยกย่อง
                ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่บุคคลพอใจหรือเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า แล้วยอมรับไว้เป็นความเชื่อ หรือความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ค่านิยมจะสิงอยู่ในตัวบุคคลในรูปของความเชื่อตลอดไป จนกว่าจะพบกับค่านิยมใหม่ ซึ่งตนพอใจกว่าก็จะยอมรับไว้ เมื่อบุคคลประสบกับ การเลือกหรือเผชิญกับเหตุการณ์ ละต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าจะนำค่านิยมมาประกอบการตัดสินใจทุกครั้งไป ค่านิยมจึงเป็นเสมือนพื้นฐานแห่งการประพฤติ ปฏิบัติของบุคคลโดยตรง
                “ค่านิยมคือ ความคิด (Idea) ในสิ่งที่ควรจะเป็นหรือสิ่งที่ถูกต้องพึงปฏิบัติมีความสำคัญ และคนสนใจ เป็นสิ่งที่คนปรารถนาจะได้ หรืจะเป็นและมีความสุขที่จะได้เป็นเจ้าของ
                “ค่านิยมหมายถึง ความเชื่อว่าอะไรดี ไม่ดี อะไรควร ไม่ควร เช่น เราเชื่อว่าการขโมยทรัพย์ของผู้อื่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่ดี ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่ดี
                ค่านิยม หมายถึง ระบบความชอบพิเศษเพราะสิ่งที่เราชอบมาก เราจะให้คุณค่ามากกว่าสิ่งที่เราไม่ชอบ ค่านิยมอาจแบ่งเป็น  ประเภท ได้แก่
                ๑. ค่านิยมเฉพาะตัว (Individual Value)
                ๒. ค่านิยมสังคม (Social Value)
                ค่านิยมทางสังคม เป็นระบบความชอบพิเศษที่คนในแต่ละสังคมมีอยู่ ค่านิยมประเภทนี้เกิดจากการเรียนรู้จากสังคมในระดับต่าง ๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม เช่น นาย ก ชอบสิ่งใดมากก็จะทำสิ่งนั้นมากเป็นต้น ดังนั้นการสังเกตค่านิยม ของสังคมอาจพิจารณาได้จากพฤติกรรมเด่น ๆ ของสมาชิกในสังคมแล้วอนุมานมานว่า สังคมนั้นมีค่านิยมอย่างไร เช่น ค่านิยมสังคมไทยที่เป็นค่านิยมดั้งเดิม คือ ยึดถือตัวบุคคล ความรักสนุก และยึดทางสายกลาง เป็นต้น
                ลักษณะของค่านิยมที่แท้นั้นจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
                ๑. เป็นค่านิยมที่บุคคลเลือกหรือยอมรับ โดยไม่ได้ถูกบังคับบุคคลมีเสรีภาพในการตัดสินใจเลือกหรือยอมรับค่านิยมใดก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสมน่าปฏิบัติ
๒. เป็นค่านิยมที่บุคคลมีโอกาสเลือกจากตัวเลือกหลายๆ ตัว ไม่ใช่เป็นเพราะมีตัวเลือกจำกัดเพียงสิ่งเดียว จึงทำให้ต้องยอมรับโดยปริยาย
๓. เป็นค่านิยมที่ได้รับการกลั่นกรองพิจารณาอย่างรอบคอบจากบุคคลตลอดจนมีการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของตัวเลือกหลายๆ ตัว เมื่อเห็นว่าตัวเลือกใดดีที่สุดเหมาะสมที่สุดหรือมีเหตุผลในการสร้างความพอใจได้มากที่สุดก็จะเลือกตัวเลือกนั้น
๔. เป็นค่านิยมที่บุคคลยกย่อง เทิดทูนและภูมิใจ
๕. เป็นค่านิยมที่บุคคลสามารถยอมรับอย่างเปิดเผยและพร้อมที่จะสนับสนุนค่านิยมที่ตนยอมรับ
๖. เป็นค่านิยมที่บุคคลยึดถือปฏิบัติจริงไม่ใช่เพียงคำพุดเท่านั้น
๗. เป็นค่านิยมที่บุคคลปฏิบัติอยู่เสมอๆ บ่อยๆ ไม่ใช่ปฏิบัติเป็นครั้งคราว
                จากลักษณะข้างต้นอาจกล่าวได้ว่าค่านิยมที่แท้นั้นเป็นค่านิยมที่ผ่านการเลือกมาอย่างดีและเมื่อเลือกแล้วก็ถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอด้วยความมั่นใจความภูมิใจ
                จากคำนิยามต่าง ๆ เหล่านี้พอจะสรุปได้ว่าค่านิยมนั้น เป็นความคิดหรือความเชื่อที่บุคคลพิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและมีคุณค่า จึงนำมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจที่จะแสดงพฤติกรรมออกมาในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน

            อิทธิพลของค่านิยมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล
                รองศาสตราจารย์ สุพัตรา สุภาพ ได้กล่าวถึงค่านิยมสังคมเมืองและค่านิยมสังคมชนบทของสังคมไทยไว้ค่อนข้างชัดเจน โดยแบ่งค่านิยมออกเป็นค่านิยมของคนในสังคมเมืองและสังคมชนบทซึ่งลักษณะค่านิยมทั้งสองลักษณะ จัดได้ว่าเป็นลักษณะของค่านิยมที่ทำให้เกิดมีอิทธิพลต่อค่านิยมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นชัดเจนในตาราง










ค่านิยมสังคมเมือง





ค่านิยมสังคมชนบท


เชื่อในเรื่องเหตุและผล
ขึ้นอยู่กับเวลา
แข่งขันมาก
นิยมตะวันตก
5. ชอบจัดงานพิธี
ฟุ่มเฟือยหรูหรา
นิยมวัตถุ
ชอบทำอะไรเป็นทางการ
ยกย่องผู้มีอำนาจผู้มีตำแหน่ง
๑๐.วินัย
๑๑. ไม่รักของส่วนรวม
๑๒. พูดมากกว่าทำ
๑๓. ไม่ชอบเห็นใครเหนือกว่า
๑๔. เห็นแก่ตัวไม่เชื่อใจใคร








ยอมรับบุญรับกรรมไม่โต้แย้ง
ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ
เชื่อถือโชคลาง
ชอบเสี่ยงโชค
นิยมเครื่องประดับ
นิยมคุณความดี
นิยมพิธีการและการทำบุญเกินกำลัง
ชอบเป็นฝ่ายรับมากกว่าฝ่ายรุก
ทำงานเป็นเล่น ทำเล่นเป็นงาน
๑๐. พึ่งพาอาศัยกัน
๑๑. มีความเป็นส่วนตัวมากเกินไป
๑๒. รักญาติพี่น้อง
๑๓. มีความสันโดษ
๑๔. หวังความสุขชั่วหน้า

ตาราง  แสดงเรื่องค่านิยมของคนเมืองและคนชนบท
                ประเภทของค่านิยม
                ค่านิยมนั้นกล่าวกันโดยทั่วไปว่ามี ๒ ประเภท คือ ค่านิยมส่วนบุคคลและค่านิยมของสังคม
                ค่านิยมส่วนบุคคล ค่านิยมส่วนบุคคลเป็นการตัดสินใจเลือกในสิ่งหรือสถานการณ์ที่ตนต้องการหรือพอใจนั้นถือว่าเป็นค่านิยม (Value) ของบุคคลนั้น เช่น นายแดง อยากเป็นคนขยันขันแข็งเอาการเอางาน นายแดงก็จะปฏิบัติตามตามพื้นฐานของความคิดของตนเอง เพราะฉะนั้น นายแดงจะมีค่านิยมของความขยันขันแข็งและแสดงความเป็นคนขยันออกมา
                ค่านิยมของสังคม ซึ่งนักวิชาการได้แสดงทัศนะไว้ต่าง ๆ กันดังนี้ ค่านิยมของสังคม คือ การรวมค่านิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคม กล่าวคือ สมาชิกของสังคมส่วนใหญ่นิยมส่ง หรืออยากจะปฏิบัติตนในสถานการณ์นั้น ๆ อย่างไร สิ่งหรือสถานการณ์นั้น ๆ ก็กลายเป็นค่านิยมของสังคม ของสังคมนั้น ขอยกตัวอย่าง เช่น ในสถานการณ์ที่ผัวเมียตบตีกัน สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมอยากสอดรู้สอดเห็นถึงความเดือดร้อนของคนอื่นจึงได้ไปมุงดู การมุงดูก็เป็นค่านิยมของสังคมนั้น
                ค่านิยมของสังคม หมายถึง สิ่งที่ตนสนใจ สิ่งที่ตนปรารถนาจะได้ ปรารถนาจะเห็นหรือกลับกลายมาเป็นสิ่งที่คนถือว่าเป็นสิ่งบังคับ ต้องทำต้องปฏิบัติ เป็นสิ่งที่คนบูชายกย่อง และมีความสุขจะได้เห็น ได้ฟัง ได้เป็นเจ้าของ
                ค่านิยมของสังคม หมายถึงค่านิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคมกล่าวคือสมาชิกของสังคมส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม หรือควรแก่การปฏิบัติสิ่งหรือสถานการณ์นั้น ๆ ก็จะกลายเป็นค่านิยมของสังคมนั้น ๆ
                ค่านิยมออกเป็น 2 ระดับคือ
                ๑.  ค่านิยมในทางปฏิบัติ (Pragmatic values) เป็นหลักของศีลธรรมที่ตั้งอยู่บนรากฐานที่ว่าตนในสังคมต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดังนั้นค่านิยมจึงประณาม สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม เช่น การคดโกง การทำร้ายกัน และยกย่องพฤติกรรมที่เป้นประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ความขยันขันแข็ง ความซื่อสัตย์
                ค่านิยมอุดมคติ (Ideal values) ซึ่งมีความลึกซึ่งกว่าค่านิยมในทางปฏิบัติ เช่นศาสนาคริสต์สอนว่าให้คนรักเพื่อนบ้านเหมือนกับรักตนเอง ซึ่งน้อยคนที่จะปฏิบัติตามได้ แต่ค่านิยมระดับนี้ก็มีความสำคัญในการทำให้คนเห็นแก่ตัวน้อยลง
                ความสำคัญของค่านิยม
                อาจกล่าวได้ว่าค่านิยมมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรม ค่านิยมบางอย่างได้สร้างแก่นของวัฒนธรรมนั่นเอง เช่น ค่านิยมเรื่องรักอิสรเสรีของสังคมไทย ทำให้คนไทยมีพฤติกรรมที่ ทำอะไรตามใจคือไทยแท้เพราะฉะนั้นค่านิยมจึงมีความสำคัญมากและมีผลกระทบถึงความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม กล่าวคือ สังคมที่มีค่านิยมที่เหมาะสมและถูกต้อง เช่น ถ้าสังคมใดยืดถือค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ ความขยันหมั่นเพียร ความเสียสละ หรือความสามัคคี สังคมนั้นย่อมจะเจริญก้าวหน้าแน่นอนแต่ในทางกลับกัน ถ้าสังคมใดมีค่านิยมที่ไม่สนับสนุนความเจริญ เช่น ค่านิยมที่เชื่อเรื่องโชคชะตาก็จะก่อให้เกิดพฤติกรรมไม่กระตือรือร้น หรือเฉื่อยชา ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนา เป็นต้น
                อิทธิพลของค่านิยมต่อตัวบุคคล
                ค่านิยมไม่ว่าจะเป็นของบุคคลหรือค่านิยมของสังคม จะมีอิทธิพลต่อตัวบุคคล ดังนี้ คือ
                ๑. ช่วยให้บุคคลตัดสินใจว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก ดีหรือไม่ดี มีคุณค่าหรือไม่มีคุณค่าควรทำหรือไม่ควรทำ
                ๒. ช่วยให้บุคคลในการกำหนดท่าทีของตนต่อเหตุการณ์ที่ตนต้องเผชิญ
                ๓. ช่วยสร้างมาตรฐาน และแบบฉบับจากการประพฤติปฏิบัติของบุคคล
                ๔. มีอิทธิพลเหนือบุคคลในการเลือกคบหาสมาคมกับบุคคลอื่น และเลือกกิจกรรม
ทางสังคม ซึ่งตนจะต้องเข้าไปร่วมด้วย
                ๕. ช่วยให้บุคคลกำหนดความคิดและแนวทางปฏิบัติ
                ๖. ช่วยเสริมสร้างหลักศีลธรรม ซึ่งบุคคลจะใช้ในการพิจารณา การกระทำของตนอย่างมีเหตุผล
                แง่คิดเกี่ยวกับค่านิยม
                ๑. โดยปกติแล้วบุคคลมักจะมีค่านิยมในเรื่องเดียวกันหรือสิ่งเดียวกัน แตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะแต่ละบุคคลมีความรู้ ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกัน แต่บุคคลก็อาจจะมีค่านิยมในบางเรื่องตรงกันได้ เรียกว่า ค่านิยมร่วม (shared values) ซึ่งส่วนมากมักได้มาจากอิทธิพลของศาสนา
                ๒. มนุษย์เรามักจะชอบคบหาสมาคมกับบุคคลที่ยืดถือค่านิยมอย่างเดียวกัน
                ๓. ค่านิยมบางอย่างได้กลายมาเป็นกฎหมายเช่น ค่านิยมในเรื่องเสรีภาพก่อให้เกิดกฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพส่วนบุคคล
                ๔. ค่านิยมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กล่าวคือ ค่านิยมบางอย่างอาจเสื่อม
ความนิยมไป หรืออาจมีค่านิยมใหม่บางอย่างเกิดขึ้นมา เช่น ค่านิยมของกุลสตรีไทย แบบผ้าพับไว้ ปัจจุบันสังคมไทยเริ่มเปลี่ยนเป็นนิยมหญิงไทยที่มีลักษณะคล่องแคล่วว่องไวเหมาะสมกับสภาพของสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
                ๕. ค่านิยมของคนและค่านิยมของสังคมจะกำหนดการตัดสินใจในการเลือกของบุคคล
                ๖. ค่านิยมบางอย่าง ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลด้วยกัน แต่ค่านิยมบางอย่างเป็นไปในทางตรงกันข้าม ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะค่านิยมมีอิทธิพลต่อความประพฤติของบุคคลทั่วไป ถ้าเรายิ่งมีความรู้สึกว่าค่านิยมใดมีความสำคัญต่อเรามาก เราก็มักจะรู้สึกลำเอียงว่าค่านิยมนั้นถูกต้องมากยิ่งขึ้นและคิดไปว่าค่านิยมที่ขัดแย้งกับของตนนั้นผิดและไม่ยอมรับ
                ๗. ค่านิยมของสังคม ไม่จำเป็นว่าต้องมีอยู่ในตัวบุคคลในสังคมนั้นทุกคนไป แต่อาจจะมีอยู่ในสมาชิกของสังคมส่วนใหญ่เท่านั้น เช่น การยกย่องคนร่ำรวย หรือเงินเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน เป็นต้น