ความขัดแย้งทางสังคมวัฒนธรรม ภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ
การขัดแย้งทางวัฒนธรรม (Cultural Conflict)
การแพร่กระจายวัฒนธรรมและการสังสรรค์ทางวัฒนธรรมอาจสร้างความขัดแย้ง ถ้าสมาชิกในกลุ่มไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน โดยปกติกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และภาษาพูดร่วมกันมักจะไม่มีความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นเมื่อมีการปะทะสังสรรค์ของวัฒนธรรมที่ต่างกัน การปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมนี้เกิดจากการแพร่กระจายของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งหรือทั้งสองชุด ทั้งนี้อาจเกิดจาก
(1) การอพยพย้ายถิ่นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้ามาสู่อาณาบริเวณที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมอื่นอยู่แล้ว ถ้าการอพยพย้ายถิ่นนี้ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นมิตรก็จะเกิดความขัดแย้งได้
(2) การขยายดินแดนของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อเสริมอาณาเขตของตนซึ่งมีผลในการรุกรานกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้รวมทั้งการยกทัพไปสู้รบกันดังเช่นสงครามสมัยโบราณ
(3) การล่าอาณานิคมของสังคมตะวันตก โดยกลุ่มที่มีอำนาจสามารถเข้าไปครอบครองและเผยแพร่วัฒนธรรมของตนด้วย
(4) นอกจากนี้ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอาจเกิดจากการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมโดยการสื่อสาร ถ่ายทอดผ่านสื่อมวลชน ระบบการศึกษา และเทคโนโลยีต่างๆ
อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์มีสูงเพราะสังคมวัฒนธรรมขัดแย้งกัน การปรับรับวัฒนธรรมซึ่งกันและกันไม่เกิดขึ้น ปัญหาเรื่องความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ เกิดจากการที่แต่ละฝ่ายพยายามรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนและไม่ยอมรับวัฒนธรรมของสังคมข้างเคียง หรือถ้าความขัดแย้งเกิดจากกรณีของการช่วงชิงอำนาจ ความสัมพันธ์จะอยู่ในลักษณะศัตรูหรือคู่ปรับ เกิดสงครามช่วงชิงพื้นที่หรือผู้คน ข้อมูลในประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นตัวอย่างของความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีสังคมวัฒนธรรมภาษาพูดต่างกันอยู่เป็นประจำ ในกรณีที่มีความขัดแย้งทางวัฒนธรรมรุนแรง อาจเกิดเป็นขบวนการต่อต้าน เช่น ขบวนการแยก ดินแดนหรือขบวนการก่อการร้าย
ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมคืออะไร
ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม(cultural conflicts) อาจเป็นคำที่ไม่คุ้นหูสำหรับหลายๆคน เป็นคำที่ใช้เรียกรวมๆของความตึงเครียด ความแตกร้าว ความเห็นที่ไม่ตรงกันอันเกิดจากการพบกันของวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกัน หากการสร้างกลุ่มประชากรซึ่งเป็นมาตรหลักของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน สมัยปัจจุบัน ให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างอาศัยเงื่อนไขหลักอย่างหนึ่งคือความเหมือนกันของ วัฒนธรรม ก็จะสามารถแยกกลุ่มประชากรสองกลุ่มได้โดยอัตโนมัติอาศัยความต่างทางวัฒนธรรม เนื่องจากประชากรแต่ละคนจะซึมซับเอาวัฒนธรรมของกลุ่มที่ตนเองอยู่เข้าไปใน บุคลิกของตนไม่มากก็น้อย ทำให้เป็นธรรมดาที่ระหว่างปัจเจกชนซึ่งอยู่ในกลุ่มประชากรที่ต่างกันมี แนวทางความคิดและการกระทำที่ต่างกัน ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคปัจจุบันที่การติดต่อระหว่างประเทศเป็นไปอย่างกว้างขวาง ประเทศที่ยืนหยัดในความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมก็เพิ่มขึ้น ผลก็คือการเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอันเกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมขึ้น ครั้งแล้วครั้งเล่านั่นเอง
ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม(cultural conflicts) อาจเป็นคำที่ไม่คุ้นหูสำหรับหลายๆคน เป็นคำที่ใช้เรียกรวมๆของความตึงเครียด ความแตกร้าว ความเห็นที่ไม่ตรงกันอันเกิดจากการพบกันของวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกัน หากการสร้างกลุ่มประชากรซึ่งเป็นมาตรหลักของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน สมัยปัจจุบัน ให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างอาศัยเงื่อนไขหลักอย่างหนึ่งคือความเหมือนกันของ วัฒนธรรม ก็จะสามารถแยกกลุ่มประชากรสองกลุ่มได้โดยอัตโนมัติอาศัยความต่างทางวัฒนธรรม เนื่องจากประชากรแต่ละคนจะซึมซับเอาวัฒนธรรมของกลุ่มที่ตนเองอยู่เข้าไปใน บุคลิกของตนไม่มากก็น้อย ทำให้เป็นธรรมดาที่ระหว่างปัจเจกชนซึ่งอยู่ในกลุ่มประชากรที่ต่างกันมี แนวทางความคิดและการกระทำที่ต่างกัน ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคปัจจุบันที่การติดต่อระหว่างประเทศเป็นไปอย่างกว้างขวาง ประเทศที่ยืนหยัดในความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมก็เพิ่มขึ้น ผลก็คือการเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอันเกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมขึ้น ครั้งแล้วครั้งเล่านั่นเอง
ปัจจัยหลักที่ทำให้แนวคิดใหม่ที่เรียกว่า " ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม " มีความสำคัญขึ้นโดยฉับพลันคือ ตามที่ได้กล่าวไว้ ความต้องการการพัฒนาที่พร้อมกันของการยืนกรานในความเป็นเอกลักษณ์ทาง วัฒนธรรม และการขยายใหญ่ของการติดต่อระหว่างประเทศ แต่ปัจจัยที่เป็นรูปธรรมกว่านั้น มีสองจุดที่สำคัญคือ
1. ปัจจุบันเวทีของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ครอบคลุมทั่วโลกเป็นครั้งแรก บนหน้าประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มนุษย์
2. ความจริงที่ว่าการติดต่อระหว่างประเทศของปัจเจกชนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การติดต่อระหว่างผู้มีวัฒนธรรมต่างกันหลายแบบจึงเกิดขึ้น แต่ ศาสนา ภาษา วิถีพื้นบ้าน ศิลปะ โดยเฉพาะด้านความคิด ก็มีการสืบทอดของวัฒนธรรมที่ต่างกัน เมื่อสัมผัสกับวัฒนธรรมของผู้อื่นก็แน่นอนว่าจะต้องเกิดความขัดแย้งขึ้น แต่หากมองอีกด้านหนึ่ง เมื่อก่อนการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศดำเนินด้วยองค์กรของรัฐหรือเจ้า หน้าที่ไม่กี่คนเท่านั้น ตอนนี้ การสื่อสารระหว่างประเทศมีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด บุคคลนับไม่ถ้วนที่มีกลไกหรือเป้าหมายต่างๆสามารถข้ามพรมแดนได้อย่างค่อน ข้างอิสระขึ้น เหล่าผู้คนที่เอาวัฒนธรรมที่แตกต่างมาสัมผัสกันก็ย่อมเกิดความขัดแย้งขึ้น อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงก็ว่าได้ แต่ไม่เคยมียุคสมัยใดที่ยอมรับการมองต้นเหตุและกลไกนั้นอย่างชัดเจนและเผชิญ กับมันอย่างฉลาดเท่ายุคสมัยนี้อีกแล้ว ที่จริงแล้วในประเทศเดียวกันก็เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมได้ แต่ก็ไม่ถูกมองเป็นปัญหาเท่าความขัดแย้งทางวัฒธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากในประเทศ คนหนึ่งคนมีสิ่งที่นับถือหรือเชื่อถืออยู่มากมาย ความนับถือความเชื่อถ้าถูกหักล้าง หรือซับซ้อนขึ้น ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมก็ไม่กลายเป็นเรื่องรุนแรง แต่ทว่า มนุษย์มากมายที่มีชีวิตอยู่ในยุคชาตินิยมนั้น ในมิติของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีแนวโน้มที่จะรู้สึกรุนแรงต่อความเป็นส่วนหนึ่งของชาติหรือเผ่าพันธุ์ ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมระหว่างชาติ บางครั้งก็จะแสดงในรูปร่างที่ร้อนแรง
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก่อนที่จะมีมนุษย์เกิดขึ้นก็มีความหลากหลายในธรรมชาติเป็นพื้นฐานมาก่อน มนุษย์ก็เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ในที่แต่ละแห่งมนุษย์ก็ย่อมเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน และอยู่ร่วมอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ จึงมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน เรียกว่าเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ กับความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกัน เพราะว่าชีวิตต้องเกิดขึ้นในที่ต่างๆ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2004 มีประชากรประมาณ 600 ล้านคน เกาะชวา คือเกาะที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา และ ศาสนา รวมทั้งมีชาวจีนอพยพมาเป็นจำนวนมาก แต่ละประเทศพบว่า มีความหลากหลาย ทางเชื้อชาติ หลากหลายศาสนา มีทั้งไทย จีน ญวน ลาว เขมร มอญ มาลายู ศาสนาก็มีทั้ง พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู ซิกส์
ศาสนาพุทธเป็นวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของคนไทย ลาว พม่า เวียดนาม ในขณะที่ ศาสนาอิสลามก็เป็นวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของคนของคนมาเลเซีย อินโดนีเซีย บูรไน และศาสนาคริสต์เป็นวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของคนฟิลิปินส์ ซึ่งหากแบ่งตามสถิติจะได้ดังนี้
บรูไน: อิสลาม (67%) พุทธมหายาน (13%) คริสต์ (10%) ภูตผี และอื่นๆ (10%)
กัมพูชา: พุทธหินยาน (93%) ภูตผี และอื่นๆ (7%)
ติมอร์ตะวันออก: คริสตศาสนา (95%)
อินโดนีเซีย: อิสลาม (81%) คริสต์ พุทธ ฮินดู และอื่นๆ
ลาว: พุทธหินยาน (60%) Animism และอื่นๆ (40%)
มาเลเซีย: อิสลาม (61%) พุทธมหายาน (20%) คริสต์ ฮินดู และอื่นๆ
พม่า: พุทธหินยาน (89%) อิสลาม (4%) คริสต์ (4%) ฮินดู (1%) และ ภูตผี
ฟิลิปปินส์: คริสต์ (92%) อิสลาม (5%) พุทธ และอื่นๆ (3%)
สิงคโปร์: ศาสนาตามประเทศจีน (พุทธมหายาน เต๋า และ ขงจื๊อ) (51%) อิสลาม (15%) คริสต์ (14%) ฮินดู (4%) อื่นๆ (16%)
ไทย: พุทธหินยาน (95%) อิสลาม (3%) ฮินดู คริสต์ และ ฮินดู
เวียดนาม: พุทธมหายาน (50%) ขงจื๊อ และ คริสต์ (50%)
กัมพูชา: พุทธหินยาน (93%) ภูตผี และอื่นๆ (7%)
ติมอร์ตะวันออก: คริสตศาสนา (95%)
อินโดนีเซีย: อิสลาม (81%) คริสต์ พุทธ ฮินดู และอื่นๆ
ลาว: พุทธหินยาน (60%) Animism และอื่นๆ (40%)
มาเลเซีย: อิสลาม (61%) พุทธมหายาน (20%) คริสต์ ฮินดู และอื่นๆ
พม่า: พุทธหินยาน (89%) อิสลาม (4%) คริสต์ (4%) ฮินดู (1%) และ ภูตผี
ฟิลิปปินส์: คริสต์ (92%) อิสลาม (5%) พุทธ และอื่นๆ (3%)
สิงคโปร์: ศาสนาตามประเทศจีน (พุทธมหายาน เต๋า และ ขงจื๊อ) (51%) อิสลาม (15%) คริสต์ (14%) ฮินดู (4%) อื่นๆ (16%)
ไทย: พุทธหินยาน (95%) อิสลาม (3%) ฮินดู คริสต์ และ ฮินดู
เวียดนาม: พุทธมหายาน (50%) ขงจื๊อ และ คริสต์ (50%)
ที่ใดที่มีการเข้าถึงความหลากหลายทางธรรมชาติ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อมจะมีสันติสุขหากมีการจัดการทางวัฒนธรรมที่ดี แต่ที่ไหนที่มีความขัดแย้งก็เกิดความรุนแรงขึ้น ยกตัวอย่างประเทศพม่าเป็นที่อยู่ของชนหลายเผ่า ที่อพยพมาอยู่รวมกันที่ลุ่มแม่น้ำอิรวดี ก็เกิดการกระทบกระทั่งขัดแย้งกันมาเรื่อยๆ เคยมีการรวมตัวกันแต่สุดท้ายก็ไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ มีการรวมตัวกันยากมาก มีความขัดแย้งเรื้อรังมาเรื่อยจนถึงบัดนี้ ที่มาเลเซียและอินโดนีเซียเคยมีการทะเลาะกันระหว่างชาวมลายูกับชนเชื้อสายจีน
โลกปัจจุบันกำลังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า "สงครามวัฒนธรรม" (Culture Wars) หรือ "ความขัดแย้งระหว่างอารยธรรม" (The Clash of Civilizations ) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโลกทัศน์ 2 แบบ ที่กำลังต่อสู้กันอยู่ ความขัดแย้งระหว่างโลกทัศน์ที่แตกต่างทั้งสองนี้ กำลังส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมโลกทั้งมวล รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "การปะทะระหว่างอารยธรรม"ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยอคติ และความคลางแคลงใจระหว่างศาสนาและเชื้อชาติ ฮันติงตัน เชื่อว่า "ความ แตกแยกระดับมหาภาคระหว่างมนุษย์ด้วยกัน และที่มาของความขัดแย้งต่างๆ จะมาจากด้านวัฒนธรรม การปะทะกันระหว่างอารยธรรม จะครอบงำการเมืองโลก ... การปะทะที่สำคัญที่สุดจะเป็นการปะทะกันระหว่างอารยธรรมตะวันตก กับ "อารยธรรม ที่มิใช่ตะวันตก" ซึ่งภาพสะท้อนดังกล่าวนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ด้วยเช่นกัน
การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีสองวิธีคือ
1.การจัดการด้วยวิธีใช้ความรุนแรงและการจัดการด้วยสันติวิธีซึ่งรายละเอียดนั้นมีดังนี้
2. การจัดการด้วยวิธีใช้ความรุนแรง
หากสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเข้าถึงความหลากหลายทางธรรมชาติ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อมจะมีสันติสุข ในขณะเดียวกันหากสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่สามารถจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม และต่างวัฒนธรรมมีความขัดแย้งถือวัฒนธรรมของวัฒนธรรมตนเป็นใหญ่ เยียดหยาม ดูถูกวัฒนธรรมอื่น ก็จะนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด ซึ่งสอดกคล้องกับทฤษฎีความรุนแรงในมุมของ ลูอิส โคเซอร์ (Lewis A. Coser) นักสังคมวิทยาที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ซึ่งมีมุมมองไปในแนวทางทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) และได้เสนอทฤษฎีหน้าที่ในทางสังคมของความรุนแรง (Social Functions of Violence) โคเซอร์ได้เสนอแนวความคิดว่าความรุนแรง (Violence) ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นปัญหาและสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาแท้ที่จริงแล้วมี หน้าที่ (Function) ที่สำคัญยิ่งในทุกสังคมนักทฤษฎีในแนวขัดแย้งนี้เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลง (Change) เป็นสิ่งปกติ (Normal) และไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา (Undesirable) แม้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน (Radical Change) ก็ตาม
การใช้ความรุนแรงในการเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และสำหรับผู้มีอำนาจเหล่านี้ความสำเร็จก็คือ "อำนาจ" ที่มากขึ้นและเด็ดขาด และนี่คือลักษณะการใช้ความรุนแรงของผู้ที่เข้มแข็ง เพื่อให้คนสังคมที่อยู่ในรัฐเดียวกัน พรมแดนเดียวกันถืงแม้จะมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมยอมรับและปฏิบัติวัฒนธรรม ของผู้มีอำนาจและอาจถึงขั้นปฏิเสธและยกเลิกวัฒนธรรมท้องถิ่นอันนำไปสู่ความ ปึกแผ่นของวัฒนธรรมชาติในขณะเดียวกันวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีความหลากหลายใน แต่ละประเทศก็จะใช้ความรุนแรงในฐานะของผู้ที่อ่อนแอ เช่นกันเพื่อต่อสู้วัฒนธรรมของตน เป้าหมายของการใช้ความรุนแรงส่วนใหญ่กลับไม่ได้เป็นอำนาจ แต่บางครั้งเป็นแค่ การเรียกร้อง (Demand) การประท้วง (Protest) การแสดงความไม่เห็นด้วย (Disagreement) หรือการอยากให้สังคมรับรู้ (Recognition) เราจะเห็นสิ่งเหล่านนี้ในชนกลุ่มน้อยในแต่ละประเทศ ไม่ว่าภาคใต้ของไทย หรือภาคใต้ของฟิลิปินส์ โรฮิงยาในพม่า กรณีที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นภาคใต้หรือผู้ก่อการนี้ ความรุนแรงที่ถูกใช้โดยรัฐผ่านเจ้าหน้าที่รัฐบางคนในอดีต ทั้งที่เป็นความรุนแรงแบบที่ใช้กำลัง (Physical Violence) เช่นการจับกุม ข่มขู่ ต่างๆนานา หรือการใช้กำลังผ่านระบบหรือโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม (Structural Violence) เช่น การตรวจค้นแบบไม่มีเหตุผล การแสดงความประพฤติในแนวดูถูกเชื้อชาติหรือศาสนา หรือมองผู้ก่อการหรือผู้ต้องหาไม่ใช้คนไทย ไม่ใช่อินโดนีเซีย ไม่ใช่พม่า ไม่ใช่เวียดนามและอื่นๆ เหล่านี้ล้วนเป็นความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อรัฐต่อสังคมโดยรวม และนี่ทำให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันของผู้มีชะตากรรมร่วมกัน ความรู้สึกความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ ยังเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากที่เหตุการณ์กรือเซะ ตากใบหรือการที่ชาวบ้านโดนถล่มด้วยอาวุธสงครามพร้อมความรู้สึกจากชาวบ้านว่า ทหาร ตำรวจเป็นคนทำเพราะชาวบ้านจะเอาอาวุธสงครามมาจากไหนในท่ามกลางทหารและตำรวจ เต็มพื้นที่เกือบทุกตารางนิ้ว หลายๆ ครั้งคนระดับเสนาบดีของรัฐเคยใช้ด้วยถ้อยคำที่ ความรุนแรงและดูถูกคนในพื้นที่ว่าไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐ ความรุนแรงในทางคำพูด (Verbal Violence) ดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะไม่ช่วยให้เหตุการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังตอกย้ำสะท้อนให้เห็นถึงระยะห่างระหว่างชาวบ้านและรัฐที่นับวันจะยิ่งแย่ลงอีกด้วย สุดท้ายความรุนแรงในการปราบปรามในอดีตแบบเวี่ยงแห อคติต่อประชาชนในพื้นที่เป็นอีกชนวนที่ทำให้ความรุนแรงนั้นขยายตัว ที่สำคัญความขัดแย้งขยายวงไปสู่กรอบของศาสนาด้วยเพราะรัฐส่วนใหญ่เป็นชาวไทย พุทธและประชาชนส่วนเป็นมลายูมุสลิม และปัจจัยเหล่านี้เอง ก็ให้เกิดความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น
2. การจัดการด้วยวิธีใช้ความรุนแรง
หากสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเข้าถึงความหลากหลายทางธรรมชาติ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อมจะมีสันติสุข ในขณะเดียวกันหากสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่สามารถจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม และต่างวัฒนธรรมมีความขัดแย้งถือวัฒนธรรมของวัฒนธรรมตนเป็นใหญ่ เยียดหยาม ดูถูกวัฒนธรรมอื่น ก็จะนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด ซึ่งสอดกคล้องกับทฤษฎีความรุนแรงในมุมของ ลูอิส โคเซอร์ (Lewis A. Coser) นักสังคมวิทยาที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ซึ่งมีมุมมองไปในแนวทางทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) และได้เสนอทฤษฎีหน้าที่ในทางสังคมของความรุนแรง (Social Functions of Violence) โคเซอร์ได้เสนอแนวความคิดว่าความรุนแรง (Violence) ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นปัญหาและสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาแท้ที่จริงแล้วมี หน้าที่ (Function) ที่สำคัญยิ่งในทุกสังคมนักทฤษฎีในแนวขัดแย้งนี้เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลง (Change) เป็นสิ่งปกติ (Normal) และไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา (Undesirable) แม้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน (Radical Change) ก็ตาม
การใช้ความรุนแรงในการเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และสำหรับผู้มีอำนาจเหล่านี้ความสำเร็จก็คือ "อำนาจ" ที่มากขึ้นและเด็ดขาด และนี่คือลักษณะการใช้ความรุนแรงของผู้ที่เข้มแข็ง เพื่อให้คนสังคมที่อยู่ในรัฐเดียวกัน พรมแดนเดียวกันถืงแม้จะมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมยอมรับและปฏิบัติวัฒนธรรม ของผู้มีอำนาจและอาจถึงขั้นปฏิเสธและยกเลิกวัฒนธรรมท้องถิ่นอันนำไปสู่ความ ปึกแผ่นของวัฒนธรรมชาติในขณะเดียวกันวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีความหลากหลายใน แต่ละประเทศก็จะใช้ความรุนแรงในฐานะของผู้ที่อ่อนแอ เช่นกันเพื่อต่อสู้วัฒนธรรมของตน เป้าหมายของการใช้ความรุนแรงส่วนใหญ่กลับไม่ได้เป็นอำนาจ แต่บางครั้งเป็นแค่ การเรียกร้อง (Demand) การประท้วง (Protest) การแสดงความไม่เห็นด้วย (Disagreement) หรือการอยากให้สังคมรับรู้ (Recognition) เราจะเห็นสิ่งเหล่านนี้ในชนกลุ่มน้อยในแต่ละประเทศ ไม่ว่าภาคใต้ของไทย หรือภาคใต้ของฟิลิปินส์ โรฮิงยาในพม่า กรณีที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นภาคใต้หรือผู้ก่อการนี้ ความรุนแรงที่ถูกใช้โดยรัฐผ่านเจ้าหน้าที่รัฐบางคนในอดีต ทั้งที่เป็นความรุนแรงแบบที่ใช้กำลัง (Physical Violence) เช่นการจับกุม ข่มขู่ ต่างๆนานา หรือการใช้กำลังผ่านระบบหรือโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม (Structural Violence) เช่น การตรวจค้นแบบไม่มีเหตุผล การแสดงความประพฤติในแนวดูถูกเชื้อชาติหรือศาสนา หรือมองผู้ก่อการหรือผู้ต้องหาไม่ใช้คนไทย ไม่ใช่อินโดนีเซีย ไม่ใช่พม่า ไม่ใช่เวียดนามและอื่นๆ เหล่านี้ล้วนเป็นความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อรัฐต่อสังคมโดยรวม และนี่ทำให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันของผู้มีชะตากรรมร่วมกัน ความรู้สึกความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ ยังเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากที่เหตุการณ์กรือเซะ ตากใบหรือการที่ชาวบ้านโดนถล่มด้วยอาวุธสงครามพร้อมความรู้สึกจากชาวบ้านว่า ทหาร ตำรวจเป็นคนทำเพราะชาวบ้านจะเอาอาวุธสงครามมาจากไหนในท่ามกลางทหารและตำรวจ เต็มพื้นที่เกือบทุกตารางนิ้ว หลายๆ ครั้งคนระดับเสนาบดีของรัฐเคยใช้ด้วยถ้อยคำที่ ความรุนแรงและดูถูกคนในพื้นที่ว่าไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐ ความรุนแรงในทางคำพูด (Verbal Violence) ดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะไม่ช่วยให้เหตุการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังตอกย้ำสะท้อนให้เห็นถึงระยะห่างระหว่างชาวบ้านและรัฐที่นับวันจะยิ่งแย่ลงอีกด้วย สุดท้ายความรุนแรงในการปราบปรามในอดีตแบบเวี่ยงแห อคติต่อประชาชนในพื้นที่เป็นอีกชนวนที่ทำให้ความรุนแรงนั้นขยายตัว ที่สำคัญความขัดแย้งขยายวงไปสู่กรอบของศาสนาด้วยเพราะรัฐส่วนใหญ่เป็นชาวไทย พุทธและประชาชนส่วนเป็นมลายูมุสลิม และปัจจัยเหล่านี้เอง ก็ให้เกิดความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น
การจัดการด้วยสันติวิธี
ประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบภาวะวิกฤต ทั้งทางการเมืองและทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งถ้าคลี่คลายไม่ได้จะนำไปสู่ภาวะวิกฤตทางจิตใจ เศรษฐกิจ และอื่นๆ รวมถึงอาจเกิดการปะทะรุนแรง ถึงขั้น บาดเจ็บ ล้มตาย ทรัพย์สินเสียหาย ฯลฯ กลายเป็น "โศกนาฏกรรม" ที่สร้างรอยร้าวและบาดแผลในดวงจิตของคน "สันติวิธี" เป็นสะพานสู่ทางออกจากวิกฤต "สันติวิธี" จึงน่าจะเป็น "สะพานสู่ทางออก" จาก "วิกฤตความรุนแรงอันเนื่องมาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมของสังคมไทยและ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ในปัจจุบัน
สันติวิธี คือวิธีการจัดการกับความขัดแย้งวิธีหนึ่ง การใช้สันติวิธีมีเหตุผลสำคัญตรงที่ว่า เป็นวิธีการที่น่าจะมีการสูญเสียน้อยที่สุด ทั้งระยะสั้นระยะยาว ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ผิดกับการใช้ความรุนแรง ซึ่งทุกฝ่ายอ้างว่าเป็นวิธีการสุดท้าย ซึ่งบางกรณีสามารถบรรลุผล ในระยะสั้นเป็นรูปธรรมชัดเจน แต่หากความขัดแย้งดำรงอยู่เพียงแต่ถูกกดไว้
โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงในระยะยาวย่อมมีอยู่ ส่วนในทางนามธรรม เช่น ความเข้าใจอันดี ความสามัคคีปรองดอง นั้นย่อมเกิดขึ้นได้ยากด้วยวิถีความรุนแรง บางคนมองสันติวิธีในลักษณะปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจ เช่น การใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง เพื่อให้รัฐหรือผู้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือพฤติกรรมบางคนใช้สันติวิธี เพราะความเชื่อว่าจะให้ผลที่ยั่งยืนและเป็นไปตามหลักจริยธรรม หรือ ศาสนธรรม บางคนใช้สันติวิธีตามหลักการบริหารเพื่อลดความขัดแย้ง ไปใส่รูปแบบอื่นที่จะจัดการได้ดีกว่า โดยไม่ใช้ความรุนแรง ลักษณะสำคัญของสันติวิธี คือ ไม่ใช่วิธีที่เฉื่อยชาหรือยอมจำนน หากเป็นวิธีที่ขันแข็งและต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่ยุทธวิธีที่เลือกใช้ในบางโอกาส หากเป็นยุทธศาสตร์ที่ปฏิบัติได้อย่าสม่ำเสมอ เป็นสัจธรรมที่น่าเชื่อถือไม่ใช่วิธีที่ดีในเชิงกระบวนการเท่านั้น หากเป็นวิธีที่หวังผลที่กลมกลืนกับวิธีการด้วย
ประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบภาวะวิกฤต ทั้งทางการเมืองและทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งถ้าคลี่คลายไม่ได้จะนำไปสู่ภาวะวิกฤตทางจิตใจ เศรษฐกิจ และอื่นๆ รวมถึงอาจเกิดการปะทะรุนแรง ถึงขั้น บาดเจ็บ ล้มตาย ทรัพย์สินเสียหาย ฯลฯ กลายเป็น "โศกนาฏกรรม" ที่สร้างรอยร้าวและบาดแผลในดวงจิตของคน "สันติวิธี" เป็นสะพานสู่ทางออกจากวิกฤต "สันติวิธี" จึงน่าจะเป็น "สะพานสู่ทางออก" จาก "วิกฤตความรุนแรงอันเนื่องมาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมของสังคมไทยและ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ในปัจจุบัน
สันติวิธี คือวิธีการจัดการกับความขัดแย้งวิธีหนึ่ง การใช้สันติวิธีมีเหตุผลสำคัญตรงที่ว่า เป็นวิธีการที่น่าจะมีการสูญเสียน้อยที่สุด ทั้งระยะสั้นระยะยาว ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ผิดกับการใช้ความรุนแรง ซึ่งทุกฝ่ายอ้างว่าเป็นวิธีการสุดท้าย ซึ่งบางกรณีสามารถบรรลุผล ในระยะสั้นเป็นรูปธรรมชัดเจน แต่หากความขัดแย้งดำรงอยู่เพียงแต่ถูกกดไว้
โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงในระยะยาวย่อมมีอยู่ ส่วนในทางนามธรรม เช่น ความเข้าใจอันดี ความสามัคคีปรองดอง นั้นย่อมเกิดขึ้นได้ยากด้วยวิถีความรุนแรง บางคนมองสันติวิธีในลักษณะปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจ เช่น การใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง เพื่อให้รัฐหรือผู้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือพฤติกรรมบางคนใช้สันติวิธี เพราะความเชื่อว่าจะให้ผลที่ยั่งยืนและเป็นไปตามหลักจริยธรรม หรือ ศาสนธรรม บางคนใช้สันติวิธีตามหลักการบริหารเพื่อลดความขัดแย้ง ไปใส่รูปแบบอื่นที่จะจัดการได้ดีกว่า โดยไม่ใช้ความรุนแรง ลักษณะสำคัญของสันติวิธี คือ ไม่ใช่วิธีที่เฉื่อยชาหรือยอมจำนน หากเป็นวิธีที่ขันแข็งและต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่ยุทธวิธีที่เลือกใช้ในบางโอกาส หากเป็นยุทธศาสตร์ที่ปฏิบัติได้อย่าสม่ำเสมอ เป็นสัจธรรมที่น่าเชื่อถือไม่ใช่วิธีที่ดีในเชิงกระบวนการเท่านั้น หากเป็นวิธีที่หวังผลที่กลมกลืนกับวิธีการด้วย
ความขัดแย้งทางสังคม และความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่
ปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติมี ๓ ระดับ คือ
ระดับความขัดแย้งในขั้นต้น เป็นความขัดแย้งเฉพาะหน้า ที่ต้องประเมินสถานการณ์ว่าจะเกิดความรุนแรงหรือไม่ และมีทิศทางอย่างไร โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ ทหารสามารถเข้ามาคลี่คลายสถานการณ์ได้
ระดับความขัดแย้งในเชิงโครงสร้าง เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในระบบต่าง ๆ ของสังคม ซึ่งต้องแก้ปัญหา ที่ระบบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดและการดำเนินวิถีชีวิตที่มีความแตก ต่างกัน ซึ่งการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับนี้ต้องอาศัยระยะเวลา และต้องให้ความสำคัญกับคนทุกเชื้อชาติและทุกวัฒนธรรม
ความขัดแย้งของสังคมไทยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติและแนวทางแก้ไข
- การปฏิรูประบบราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะการเปิดกว้างให้สามัญชนทั่วไปสามารถเข้าถึงระบบการศึกษา ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงโครงสร้างโดยมีชนชั้นกลางเข้าสู่ระบบราชการมากขึ้น และส่วนหนึ่งของข้าราชการที่มาจากชนชั้นกลางนี้กลายเป็นกลุ่มเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากการปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้เป็นไปอย่างที่ ทุกฝ่ายคาดหวัง แต่กลับนำไปสู่ความขัดแย้งทางความคิดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการ ปฏิวัติรัฐประหารในเวลาต่อมาอีกหลายครั้ง และเมื่อ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ายึดอำนาจและขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้นำพาประเทศเข้าสู่กระแสการปฏิวัติอุตสาหกรรมตามแนวทางชาติตะวันตก มีการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้น และมีการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ทำให้เกิดชนชั้นกลางที่มาจากนายทุนนอกระบบราชการจำนวนมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงโครงสร้างอีก ครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมมักจะนำไปสู่ความขัดแย้งในเชิงโครงสร้างเสมอ เช่นเดียวกับที่สังคมไทยประสบ โดยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลายครั้งได้ขยายวงกว้างจนนำไปสู่การต่อสู้โดยใช้ความรุนแรง ทำให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง จนประเทศชาติขาดความมั่นคง ดังเห็นได้จากเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยตลอดมาตราบจนถึงปัจจุบัน
- ในห้วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของไทยเจริญเติบโตทำให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ระบบการกระจายรายได้ยังไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทาง เศรษฐกิจและสังคมระหว่างสังคมเมืองและชนบทอย่างมาก ทั้งนี้การพัฒนาและการปฏิรูปในแต่ละครั้งที่ดำเนินการโดยละเลยชาวบ้านในชนบท ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ยิ่งเพิ่มช่องว่างของความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจนให้มีมากขึ้น จนกระทั่งการเมืองไทยในระยะหลังได้มีการดำเนินนโยบายที่กระจายผลประโยชน์ไป สู่ชนบทด้วย "นโยบายประชานิยม" ซึ่งเป็นการเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว ทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าให้ความนิยมเนื่องจากได้รับการดูแลอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยที่ประชาชนเหล่านั้นมิได้คำนึงว่าผลประโยชน์ที่ได้รับเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและมิใช่ การพัฒนาที่ยั่งยืนในขณะที่ประชาชนในเมืองโดยเฉพาะปัญญาชนเห็นว่า นโยบายดังกล่าวไม่ชอบธรรมเพราะเป็นการนำภาษีจากรายได้ของพวกตนไปให้กับชาวชนบท จึงต่อต้านแนวนโยบายดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความขัดแย้งทางความคิดที่ลุกลามนำไปสู่การรัฐประหารในปี๒๕๔๙ ในที่สุด
-สังคมไทยมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ แต่แนวคิดในอดีตไม่ให้การยอมรับในความหลากหลายจึงมีการใช้นโยบายผสมผสาน ระหว่างเชื้อชาติเพื่อให้เกิดความกลมกลืนเป็นไทย โดยมิได้คำนึงถึงแนวคิดของกลุ่มชนเชื้อชาติต่างๆ ส่งผลให้เกิด ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในกรณีพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม ที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งรัฐบาลในอดีตได้เคยดำเนินนโยบายให้มีการผสมกลมกลืนให้เกิดความเป็นไทย ทำให้ชาวไทยมุสลิมเกิดความรู้สึกขัดแย้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์บานปลายดังที่เห็นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามปัจจุบันภาครัฐมีการยอมรับในความหลากหลาย และได้ตระหนักแล้วว่าการที่แต่ละเชื้อชาติดำรงอัตลักษณ์เดิมของตนนั้นเป็น แนวทางเชิงบวกเนื่องจาก ความหลากหลายของเชื้อชาติก่อให้เกิดความหลากหลายของวัฒนธรรม และความหลากหลายของภูมิปัญญาซึ่งจะกลายเป็นทางเลือกที่หลากหลายในการแก้ปัญหาต่างๆในแต่ละพื้นที่
-ปัจจุบันโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สังคมไทยโดยเฉพาะในชนบทรู้ ไม่เท่าทันองค์ความรู้ดังกล่าว อีกทั้งทุนนิยมแบบใหม่กำลังรุกล้ำเข้าสู่ชนบทท้องถิ่นโดยมีการละเมิด ทรัพยากร- ธรรมชาติในพื้นที่ป่า ลุ่มน้ำ ชายฝั่งทะเล ฯลฯ ผ่านอำนาจอนุมัติของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยทรัพยากรเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนชีวิตซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคน ไทยทั้งชาติ จึงเป็นเรื่องที่สร้างความขัดแย้งแก่สังคมไทย โดยประชาชนในเมืองหรือในศูนย์กลางประเทศซึ่งส่วนใหญ่มีความรู้แต่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอและอาจจะไม่สามารถรวมพลังเพื่อปกป้องสิทธิได้ อีกทั้ง "การถ่วงดุล" อำนาจอธิปไตยของไทย ๓ ด้าน คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ยังเข้าไปถ่วงดุลในระดับท้องถิ่นได้ไม่ทั่วถึง ดังนั้นการถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพด้วยการรวมพลังแสดงสิทธิปกป้องทรัพยากร จึงควรมาจากระดับท้องถิ่นทั้งระดับ อบต. หรือ อบจ. และที่สำคัญยิ่งคือประชาชนในท้องถิ่น โดยรัฐต้องให้ประชาชนได้รับการศึกษาเพื่อให้รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ รวมทั้งต้องทำให้การปกป้องสิทธิของประชาชนในท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม แม้การปกป้องสิทธิจะเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังภาคประชาชน แต่ก็มักนำไปสู่ความขัดแย้งในพื้นที่เสมอ ดังเห็นได้จาก กรณีการปะทะกันระหว่างประชาชนกับตำรวจในการคัดค้านท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา การประท้วงของคนในชุมชนมาบตาพุด เป็นต้น
- การแก้ไขหรือบรรเทาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ควรนำแนวทางสันติวิธีมาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา เนื่องจากแนวทางสันติวิธีคำนึงถึงความมั่นคงอย่างสมดุลในทุกมิติ การบังคับใช้กฎหมายด้วยหลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ จริยธรรม และความเท่าเทียมเสมอภาค รวมถึงความรู้สึกของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นหลักการที่ควรรณรงค์ให้ประชาชนทุกเพศและวัย มีความเข้าใจในแนวทางสันติวิธีและนำไปใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งใน ทุกระดับที่ตนเผชิญ อย่างไรก็ตาม การนำไปปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่รัฐควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ดุลยพินิจตีความโดยขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้อาจจะ สร้างเงื่อนไขใหม่ในการแก้ปัญหาและอาจจะนำความขัดแย้งไปสู่ความรุนแรงของ เหตุการณ์ได้ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจว่า ในบางสถานการณ์เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถใช้กฎหมายหรือแนวทางสันติวิธีได้ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงและต้องการวิธีแก้ไขที่เด็ดขาดและทันท่วงที เช่น กรณี ๓ จชต. เป็นต้น
- กระบวนทัศน์ (paradigm) ของความมั่นคงแห่งชาติ (National Security) ในปัจจุบันอาจจะไม่สามารถนำมาจัดการปัญหาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในเชิง โครงสร้างและกระแสโลกาภิวัตน์ได้เช่นในอดีต ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการมองสังคมไทยในมิติของ สังคมเสี่ยง (Risk Society) ที่ มีสมมติฐานคือ ความไม่แน่นอน สิ่งที่เคยถูกเชื่อว่ามีประโยชน์หรือเป็นโอกาสในอดีต ปัจจุบันกลับถูกพิสูจน์ว่าเป็นโทษหรือเป็นภัยคุกคาม ประเทศส่วนหนึ่งในโลกไม่คำนึงถึงกฎกติกาสากล ทำให้ระบบระหว่างประเทศล้มเหลว สังคมโลกจึงควรพัฒนาระบบพหุภาคีให้มีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทยปัญหาส่วนหนึ่งที่ได้รับจากภาวะสังคมเสี่ยงซึ่งเป็นเรื่อง ที่น่ากังวลใจคือความทันสมัยตามกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลให้สังคมไทยรวมทั้งชาว ชนบทต้องการความเป็นอยู่ที่ดีและทัดเทียมในรูปแบบเดียวกันกับสังคมเมือง โดยมิได้คำนึงถึงรากเหง้าของความเป็นสังคมเกษตรกรรม อู่ข้าวอู่น้ำของโลก และมีภูมิปัญญามากมายอันมีค่าของบรรพบุรุษ จึงควรปลุกจิตสำนึกของชาวชนบทให้กลับมาภูมิใจในความเป็นเกษตรกรและปลูกจิตสำนึกของคนในสังคมเมืองให้เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นสังคม เกษตรกรรม รวมทั้งให้ประชาชนชาวไทยตระหนักโดยพร้อมเพรียงกันว่า โลกาภิวัตน์ไม่ใช่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือตัวอย่างของการรับมือกับโลกาภิวัตน์ได้ ดีที่สุดในปัจจุบัน
สรุป
สังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม กำลังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า "สงครามวัฒนธรรม" (Culture Wars) หรือ "ความขัดแย้งระหว่างระหว่างอารยธรรม" (The Clash of Civilizations) ซึ่งเป็นผลมาจากกระแส "การปะทะระหว่างอารยธรรม" ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยอคติ และความคลางแคลงใจระหว่างศาสนา เชื้อชาติและวัฒนธรรม และนำมาซึ่งการแตกแยกทางสังคมระหว่างประเทศ และในประเทศ การขัดแย้งกันทางเชื้อชาติ ศาสนา
ดังนั้นการจัดการสังคมและวัฒนธรรมบนความหลากหลายจะต้องมีเอกภาพของคนในชาติและรัฐของตน ในขณะเดียวกันการใช้สันติวิธีผ่านกระบวนการต่างๆอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไม่ว่า และการยอมรับการคงอยู่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเชื้อชาติ
- การปฏิรูประบบราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะการเปิดกว้างให้สามัญชนทั่วไปสามารถเข้าถึงระบบการศึกษา ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงโครงสร้างโดยมีชนชั้นกลางเข้าสู่ระบบราชการมากขึ้น และส่วนหนึ่งของข้าราชการที่มาจากชนชั้นกลางนี้กลายเป็นกลุ่มเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากการปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้เป็นไปอย่างที่ ทุกฝ่ายคาดหวัง แต่กลับนำไปสู่ความขัดแย้งทางความคิดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการ ปฏิวัติรัฐประหารในเวลาต่อมาอีกหลายครั้ง และเมื่อ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ายึดอำนาจและขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้นำพาประเทศเข้าสู่กระแสการปฏิวัติอุตสาหกรรมตามแนวทางชาติตะวันตก มีการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้น และมีการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ทำให้เกิดชนชั้นกลางที่มาจากนายทุนนอกระบบราชการจำนวนมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงโครงสร้างอีก ครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมมักจะนำไปสู่ความขัดแย้งในเชิงโครงสร้างเสมอ เช่นเดียวกับที่สังคมไทยประสบ โดยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลายครั้งได้ขยายวงกว้างจนนำไปสู่การต่อสู้โดยใช้ความรุนแรง ทำให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง จนประเทศชาติขาดความมั่นคง ดังเห็นได้จากเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยตลอดมาตราบจนถึงปัจจุบัน
- ในห้วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของไทยเจริญเติบโตทำให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ระบบการกระจายรายได้ยังไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทาง เศรษฐกิจและสังคมระหว่างสังคมเมืองและชนบทอย่างมาก ทั้งนี้การพัฒนาและการปฏิรูปในแต่ละครั้งที่ดำเนินการโดยละเลยชาวบ้านในชนบท ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ยิ่งเพิ่มช่องว่างของความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจนให้มีมากขึ้น จนกระทั่งการเมืองไทยในระยะหลังได้มีการดำเนินนโยบายที่กระจายผลประโยชน์ไป สู่ชนบทด้วย "นโยบายประชานิยม" ซึ่งเป็นการเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว ทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าให้ความนิยมเนื่องจากได้รับการดูแลอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยที่ประชาชนเหล่านั้นมิได้คำนึงว่าผลประโยชน์ที่ได้รับเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและมิใช่ การพัฒนาที่ยั่งยืนในขณะที่ประชาชนในเมืองโดยเฉพาะปัญญาชนเห็นว่า นโยบายดังกล่าวไม่ชอบธรรมเพราะเป็นการนำภาษีจากรายได้ของพวกตนไปให้กับชาวชนบท จึงต่อต้านแนวนโยบายดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความขัดแย้งทางความคิดที่ลุกลามนำไปสู่การรัฐประหารในปี๒๕๔๙ ในที่สุด
-สังคมไทยมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ แต่แนวคิดในอดีตไม่ให้การยอมรับในความหลากหลายจึงมีการใช้นโยบายผสมผสาน ระหว่างเชื้อชาติเพื่อให้เกิดความกลมกลืนเป็นไทย โดยมิได้คำนึงถึงแนวคิดของกลุ่มชนเชื้อชาติต่างๆ ส่งผลให้เกิด ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในกรณีพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม ที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งรัฐบาลในอดีตได้เคยดำเนินนโยบายให้มีการผสมกลมกลืนให้เกิดความเป็นไทย ทำให้ชาวไทยมุสลิมเกิดความรู้สึกขัดแย้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์บานปลายดังที่เห็นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามปัจจุบันภาครัฐมีการยอมรับในความหลากหลาย และได้ตระหนักแล้วว่าการที่แต่ละเชื้อชาติดำรงอัตลักษณ์เดิมของตนนั้นเป็น แนวทางเชิงบวกเนื่องจาก ความหลากหลายของเชื้อชาติก่อให้เกิดความหลากหลายของวัฒนธรรม และความหลากหลายของภูมิปัญญาซึ่งจะกลายเป็นทางเลือกที่หลากหลายในการแก้ปัญหาต่างๆในแต่ละพื้นที่
-ปัจจุบันโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สังคมไทยโดยเฉพาะในชนบทรู้ ไม่เท่าทันองค์ความรู้ดังกล่าว อีกทั้งทุนนิยมแบบใหม่กำลังรุกล้ำเข้าสู่ชนบทท้องถิ่นโดยมีการละเมิด ทรัพยากร- ธรรมชาติในพื้นที่ป่า ลุ่มน้ำ ชายฝั่งทะเล ฯลฯ ผ่านอำนาจอนุมัติของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยทรัพยากรเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนชีวิตซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคน ไทยทั้งชาติ จึงเป็นเรื่องที่สร้างความขัดแย้งแก่สังคมไทย โดยประชาชนในเมืองหรือในศูนย์กลางประเทศซึ่งส่วนใหญ่มีความรู้แต่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอและอาจจะไม่สามารถรวมพลังเพื่อปกป้องสิทธิได้ อีกทั้ง "การถ่วงดุล" อำนาจอธิปไตยของไทย ๓ ด้าน คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ยังเข้าไปถ่วงดุลในระดับท้องถิ่นได้ไม่ทั่วถึง ดังนั้นการถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพด้วยการรวมพลังแสดงสิทธิปกป้องทรัพยากร จึงควรมาจากระดับท้องถิ่นทั้งระดับ อบต. หรือ อบจ. และที่สำคัญยิ่งคือประชาชนในท้องถิ่น โดยรัฐต้องให้ประชาชนได้รับการศึกษาเพื่อให้รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ รวมทั้งต้องทำให้การปกป้องสิทธิของประชาชนในท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม แม้การปกป้องสิทธิจะเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังภาคประชาชน แต่ก็มักนำไปสู่ความขัดแย้งในพื้นที่เสมอ ดังเห็นได้จาก กรณีการปะทะกันระหว่างประชาชนกับตำรวจในการคัดค้านท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา การประท้วงของคนในชุมชนมาบตาพุด เป็นต้น
- การแก้ไขหรือบรรเทาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ควรนำแนวทางสันติวิธีมาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา เนื่องจากแนวทางสันติวิธีคำนึงถึงความมั่นคงอย่างสมดุลในทุกมิติ การบังคับใช้กฎหมายด้วยหลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ จริยธรรม และความเท่าเทียมเสมอภาค รวมถึงความรู้สึกของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นหลักการที่ควรรณรงค์ให้ประชาชนทุกเพศและวัย มีความเข้าใจในแนวทางสันติวิธีและนำไปใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งใน ทุกระดับที่ตนเผชิญ อย่างไรก็ตาม การนำไปปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่รัฐควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ดุลยพินิจตีความโดยขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้อาจจะ สร้างเงื่อนไขใหม่ในการแก้ปัญหาและอาจจะนำความขัดแย้งไปสู่ความรุนแรงของ เหตุการณ์ได้ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจว่า ในบางสถานการณ์เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถใช้กฎหมายหรือแนวทางสันติวิธีได้ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงและต้องการวิธีแก้ไขที่เด็ดขาดและทันท่วงที เช่น กรณี ๓ จชต. เป็นต้น
- กระบวนทัศน์ (paradigm) ของความมั่นคงแห่งชาติ (National Security) ในปัจจุบันอาจจะไม่สามารถนำมาจัดการปัญหาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในเชิง โครงสร้างและกระแสโลกาภิวัตน์ได้เช่นในอดีต ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการมองสังคมไทยในมิติของ สังคมเสี่ยง (Risk Society) ที่ มีสมมติฐานคือ ความไม่แน่นอน สิ่งที่เคยถูกเชื่อว่ามีประโยชน์หรือเป็นโอกาสในอดีต ปัจจุบันกลับถูกพิสูจน์ว่าเป็นโทษหรือเป็นภัยคุกคาม ประเทศส่วนหนึ่งในโลกไม่คำนึงถึงกฎกติกาสากล ทำให้ระบบระหว่างประเทศล้มเหลว สังคมโลกจึงควรพัฒนาระบบพหุภาคีให้มีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทยปัญหาส่วนหนึ่งที่ได้รับจากภาวะสังคมเสี่ยงซึ่งเป็นเรื่อง ที่น่ากังวลใจคือความทันสมัยตามกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลให้สังคมไทยรวมทั้งชาว ชนบทต้องการความเป็นอยู่ที่ดีและทัดเทียมในรูปแบบเดียวกันกับสังคมเมือง โดยมิได้คำนึงถึงรากเหง้าของความเป็นสังคมเกษตรกรรม อู่ข้าวอู่น้ำของโลก และมีภูมิปัญญามากมายอันมีค่าของบรรพบุรุษ จึงควรปลุกจิตสำนึกของชาวชนบทให้กลับมาภูมิใจในความเป็นเกษตรกรและปลูกจิตสำนึกของคนในสังคมเมืองให้เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นสังคม เกษตรกรรม รวมทั้งให้ประชาชนชาวไทยตระหนักโดยพร้อมเพรียงกันว่า โลกาภิวัตน์ไม่ใช่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือตัวอย่างของการรับมือกับโลกาภิวัตน์ได้ ดีที่สุดในปัจจุบัน
สรุป
สังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม กำลังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า "สงครามวัฒนธรรม" (Culture Wars) หรือ "ความขัดแย้งระหว่างระหว่างอารยธรรม" (The Clash of Civilizations) ซึ่งเป็นผลมาจากกระแส "การปะทะระหว่างอารยธรรม" ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยอคติ และความคลางแคลงใจระหว่างศาสนา เชื้อชาติและวัฒนธรรม และนำมาซึ่งการแตกแยกทางสังคมระหว่างประเทศ และในประเทศ การขัดแย้งกันทางเชื้อชาติ ศาสนา
ดังนั้นการจัดการสังคมและวัฒนธรรมบนความหลากหลายจะต้องมีเอกภาพของคนในชาติและรัฐของตน ในขณะเดียวกันการใช้สันติวิธีผ่านกระบวนการต่างๆอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไม่ว่า และการยอมรับการคงอยู่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเชื้อชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น