ความหลากหลายของประชากรโลก
เมื่อประชากรโลกเหยียบ 7,000 ล้านคน : สภาพแวดล้อมจะเป็นอย่างไร
จากที่จั่วหัวไว้ที่หัวเรื่อง การคาดการณ์ประชากรโลกในปี 2011 ของสมาคมประชากรโลกที่ หนังสือวารสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิค ฉบับเดือนมกราคม 2554 นำมาลงหน้าปก เป็นการเตือนว่าในปีนี้ ประชากรโลกจะมีจำนวนถึง 7,000 ล้านคน ที่หลายประเทศจะต้องไม่ละเลย และเตรียมการรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งไม่กี่ปีมานี้เราพูดถึงประชากรโลกที่ 6,000 ล้านคน ทำให้ต้องแก่งแย่งทรัพยากรกันมหาศาล
แต่ในขณะที่ปีนี้ประชากรโลกพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เพราะที่ผ่านมาปัญหาของประชากรยังไม่ดูรุนแรงเท่ากับปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง หรือปัญหาโลกร้อนที่กล่าวถึงกันในปัจจุบัน ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ประชากรเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น ในบางประเทศที่มีผู้สูงอายุปริมาณมากขึ้นต้องเป็นภาระที่รัฐบาลในหลายประเทศประสบปัญหาในการให้บริการทางสุขภาพ ความเป็นอยู่ของประชากรสูงวัยเหล่านั้นด้วยต้องใช้งบประมาณอีกมหาศาลในการดูแลเป็นภาระของประชากรวัยทำงานที่ต้องแบกภาระอีกทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตามความต้องการอาหาร ทรัพยากรที่มีมากขึ้น กระทบต่อสิ่งมีชีวิต สภาพแวดล้อมของโลกใบนี้อย่างมาก ตั้งแต่ทรัพยากรที่ดินแหล่งเพาะปลูก ที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า พืชพรรณธรรมชาติต่างถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ทรัพยากร ของประชากรโลก มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การพัฒนาเมืองจึงไม่เพียงแต่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังมีการขยายเมืองในพื้นที่รอบนอกอย่างมากมาย จึงไม่น่าแปลกใจที่สัตว์ป่าพืชพรรณตามธรรมชาติจะสูญพันธุ์เร็วขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์
จากสภาพที่เปลี่ยนแปลงจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ที่กล่าวมาแล้วผลจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมจนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างมหาศาล ในกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมเหล่านั้น ยิ่งเป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ไม่น่าอยู่ยิ่งขึ้น โดยพิจารณาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ไม่ว่าน้ำท่วม ภาวะความแห้งแล้ง ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความรุนแรง หรือความถี่มากขึ้น นอกจากนี้ขอบเขตของผลกระทบที่เกิดขึ้น จากความสามารถของธรรมชาติที่เคยฟื้นสภาพอย่างรวดเร็ว กับดูเหมือนว่าโลกใบนี้เริ่มล้า และอ่อนแรง การฟื้นฟูสภาพกลับมาดังเดิมดูจะเป็นเรื่องยาก อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำในทะเลจนเกิดปะการังฟอกขาว ที่พยายามจะพื้นฟูโดยเทคโนโลยีต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
การบริโภคทรัพยากรต่างๆ ของมนุษย์ ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ก่อให้เกิดมลพิษจำนวนมาก มีความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพหลายชนิดที่ส่งผลกระทบกลับมายังระบบนิเวศ เช่น ความต้องการพลังงาน ใช้ทรัพยากรเชื้อเพลิงปริมาณมากๆ และเกิดมลพิษทางอากาศ ส่งผลกลับมาที่พืชพรรณในพื้นที่ได้รับฝนกรดจากการสะสมตัวของไอกรดจากการผลิตพลังงานในพื้นที่
จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็ว บนโลกใบนี้จนยากจะฟื้นฟูกลับมาดังเดิม ทำให้มนุษย์ชาติ ต้องปรับตัว บทความนี้จึงอยากจะเสนอรูปแบบการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน และผู้กำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศได้พิจารณา ดังนี้
1. แนวคิดเมืองช้า (slowly city) คือการใช้ชีวิต ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันในเมืองที่เคยเร่งรีบตั้งแต่การกิน การนอน การทำงานให้ช้าลงไป จากการแข่งขัน แก่งแย่งกันในเรื่องต่างๆ ของชีวิต ลองหันกลับมาทบทวน และลดความเร็วในการใช้ชีวิตดูบ้าง ที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การกินโดยการเคี้ยวอาหารให้นานขึ้น ละเอียดขึ้น การทำงานที่ใช้สติรอบคอบ การนอนที่เหมาะสมกับวัย การเดินทางที่หันมาเดินแทนการขับรถซิ่งตามท้องถนน สร้างกฎกติกาการดำเนินชีวิตอย่างช้าๆ บ้าง จะทำให้เราได้ตระหนักถึงความเป็นไปในการดำเนินชีวิตและความสวยงามของการใช้ชีวิตอย่างประณีตมากขึ้น ในเมือง slow city จริงๆ มีให้เห็นอยู่มากในเมืองชนบท เมืองเกษตรกรรมต่างๆ ที่ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายและดั้งเดิม ดูจะเป็นวิถีแบบไทยๆ ที่น่าสัมผัส slow city จึงไม่ใช่เมืองฝันกลางวันแต่เป็นเมืองแห่งการมีสติ และมองรอบด้านด้วยการเห็นคุณค่าของเวลาและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ร่วมกัน ข้อเสนอแนวคิดนี้จึงน่าจะเป็นการเริ่มที่ตัวเราเองก่อน ประเทศไทยได้เสนอเมืองลำพูน เป็นตัวอย่างเมืองslow city ที่เรียกว่าเมืองสบาย สบาย ซึ่งจะเป็นตัวอย่างเมืองอื่นๆ ที่มีความเป็นอยู่และวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน
2. แนวคิด small is beautiful เป็นแนวคิดของนักเขียน ชูมัคเกอร์ ชาวเยอรมัน ที่นำเสนอการทำงานเล็กๆ ที่ให้ความเป็นตัวตนของเรา การขับเคลื่อนของธุรกิจที่มีความคล่องตัวกว่าธุรกิจขนาดใหญ่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น